วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

การเรียนรู้ครั้งที่ 4 วันพุธที่ 27 มกราคม เวลา 8.30น.- 12.30 น.



บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้


วันนี้มีอากาศหนาวมากค่ะ ในห้องเรียนวันนี้ไม่ได้เปิดแอร์ ทำให้รู้สึกอบอุ่นสบาย อาจารย์มาสอนได้ตรงเวลา และได้แจกกระดาษแข็งให้คนละ 1 แผ่น  โดยให้เขียนชื่อของตนเองให้เหมาะสมกับพื้นที่ของกระดาษ เมื่ออาจารย์เริ่มกิจกรรม  ทุกคนจะตั้งใจฟังและปฏิบัติตามอย่างตั้งใจ  อาจารย์ได้มีกิจกรรมที่ให้ถาม - ตอบ เพื่อนๆจะช่วยกันแสดงความคิดเห็น  สนใจการเรียนและการทำกิจกรรมอยู่เสมอ 


เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ


เรื่องที่เรียน

- การเขียนตารางจำนวนคนมาและไม่มาเรียน
- ทักษะการนับจำนวน , ทักษะการแยกกลุ่ม
- การเรียงลำดับคนมาก่อนและหลัง
- การเขียนเรียงลำดับ
- การใส่ตัวเลขในตารางการมาเรียน
- คำศัพท์ที่มีในตารางการมาเรียน
- พื้นฐานการเปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวน
- การตั้งชื่อกลุ่มโดยการนำคณิตศาสตร์มาใช้
- การบูรณาการการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
- การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- การออกแบบร่างของสื่อ 
- ความต้องการของเด็ก
- การจัดการเรียนให้สอดคล้องกับเด็ก
- เพลงคณิตศาสตร์ , คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
- มาตรฐานการวัดในระบบเมดริก
- จำนวนและการดำเนินการ
- การรวมกลุ่มและการจับคู่
- การวัด , เรขาคณิต
- เวลา , การคิดอย่างมีเหตุผล 
- การจัดประเภทจับคู่ , การตัดสินใจ
- การคาดคะเนปริมาณและการเปรียบเทียบ

ความรู้ที่ได้รับ

- การเขียนตารางจำนวนการมาเรียนนั้นเป็นการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ในการใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้เด็กมีทักษะการนับจำนวน โดยการนับเพิ่มจำนวนคนมาได้ทีละ 1 เป็นการบวก จะทำให้ครูสามารถเช็คได้ว่าเด็กคนไหนมาก่อนและมาทีหลัง หรือกลับบ้าน ถ้าเด็กคนไหนมาก่อนนำชื่อไปแปะไว้ในช่องมาเรียน และเด็กคนที่ไม่มาก็จะอยู่ในช่องไม่มาเรียน จะทำให้เด็กได้ฝึกการนับจำนวนตัวเลขได้เร็วขึ้นจากการนับจำนวนคนในตาราง สามารถถาม - ตอบเด็กได้ว่าใครมาเรียนก่อนและหลังหรือไม่มา
- สิ่งที่จะบ่งบอกการเรียงลำดับจำนวนคนมาก่อนได้นั้น คือ การใส่ลำดับเลขที่  จะทำให้เด็กได้รู้จักตัวเลขจากการเรียงลำดับและสามารถกระตุ้นการอยากมาเรียนก่อนบ้าง เพื่อให้ได้อยู่ในลำดับที่แรกๆ
- เมื่อใดที่มีการปฏิบัตินั้นจะทำให้เด็กเกิดทักษะในการเรียนรู้ ครูจะออกแบบการเรียนรู้จะต้องมีจังหวะที่ดีในการสอน สามารถสอนได้ด้วยวิธีหลากหลายแบบ
- จะทำให้เด็กได้รู้คำศัพท์จากตารางได้ เรื่องลำดับที่หนึ่งและลำดับสุดท้าย  เด็กจะเรียนรู้จากการมองเห็นมากกว่าจึงต้องสอนให้เข้าใจโดยการพิสูจน์ด้วยการนับจำนวน
- ได้รู้จักการนับและการแยกกลุ่ม การนับนั้นสามารถบอกค่าได้โดยใช้ตัวเลขฮินดูอารบิคกำกับจำนวน,ลำดับการมาก่อนและหลัง
- มากกว่าและน้อยกว่าเป็นพื้นฐานการเปรียบเทียบในการลบ
- การตั้งชื่อกลุ่มนั้นสามารถนำคณิตศาสตร์มาใช้เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มได้ เช่น รูปทรงเรขาคณิต สามเหลี่ยม , สี่เหลี่ยม , วงกลม , หกเหลี่ยม , ห้าเหลี่ยม , วงรี เป็นต้น การเขียนเรียงลำดับและการนับเลข
นั้นจะต้องเรียงจากซ้ายไปขวา ต้องมีจำนวนและตัวเลขกำกับให้เด็กเสมอ เป็นการบูรณาการการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันด้วย
- การออกแบบร่างสื่อนั้นจะต้องเขียนร่างออกแบบก่อน ถ้าสามารถทำได้จริงจึงลงมือทำ จะต้องตั้งวัตถุประสงค์ก่อน เพื่อให้รู้ว่าต้องการอะไรและเวลาทำจะต้องใช้วัสดุอะไรบ้าง ใช้สื่อนี้ได้นานเพียงใดและมากน้อยเพียงใด ควรเป็นของที่ทำให้เด็กได้เรียนรู้และสามารถนำมาใช้ได้ตลอด
- การนำเสนอควรสรุปใจความสำคัญสั้นๆ เข้าใจได้ง่าย  พูดให้เหมาะสมและออกเสียง ร , ล ชัดเจน การนำเสนอวิจัยควรนำชื่อวิจัยมาให้ครบเพื่อให้รู้จักวิจัยได้ชัดเจน การอธิบายต้องกำหนดตัวแปรต้นและตัวแปรตาม  ถ้ามีวิธีการที่อธิบายและไม่เข้าใจควรนำรูปภาพหรือวีดีโอมาเป็นตัวอย่างให้ได้เห็นภาพของการทำวิจัยนั้นได้ละเอียดและเข้าใจมากขึ้น
- ความต้องการของเด็ก คือ พฤติกรรมของเด็ก ผู้ปกครองจะต้องรู้ว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง จะได้สามารถจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเด็กและช่วยกระตุ้นเด็กให้รู้ว่าต้องการอะไร จะต้องรู้พัฒนาการของเด็ก และเลือกวิธีการให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็ก
- การลงมือปฏิบัติของเด็กนั้น คือ วิธีการทำเป็นการลงมือปฏิบัติด้วยการใช้สัมผัสทั้ง 5 เป็นการเรียนรู้ของเด็ก ดังนั้นครูต้องเปลี่ยนจากการสอนด้วยคำพูดเป็นกิจกรรมให้เด็กเพื่อสอดคล้องวิธีการเรียนรู้
- คณิตศาสตร์นั้นสามารถนำไปบูรณาการในศิลปะได้ ไม่ใช่แค่การเรียนตัวเลขอย่างเดียว เช่น กิจกรรมสานเชือก เป็นต้น
- เวลา , การคิดอย่างมีเหตุผล การทำอะไรนั้นต้องประกอบด้วยเวลาและมีเหตุผลในการทำ 
- การจัดประเภทจับคู่ , การตัดสินใจ
- การคาดคะเนปริมาณและการเปรียบเทียบ
- จำนวนนั้นไม่ได้เป็นแค่ตัวเลขสามารถใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์แทนได้
- พัฒนาการจะบ่งบอกความสามารถของเด็กและความสามารถของเด็กจะบอกความต้องการของเด็ก
- รู้จักเพลงคณิตศาสตร์ การสอนร้องเพลงนั้นจะต้องรู้วิธีการสอนที่ถูกวิธี สอนร้องทำนองเพลงให้ถูกต้อง  สามารถออกแบบท่าทางประกอบเพลงและใช้เพลงในการสอนเรื่องต่างๆในชีวิตประจำวันได้

ภาพบทเพลงคณิตศาสตร์ ทั้งหมด 7 เพลงค่ะ  ^^




เพลงที่ 1 เพลงสวัสดียามเช้า


สอนช่วงเวลา ,  การเรียงลำดับเหตุการณ์กิจวัตรประจำวัน

เพลงที่ 2 เพลงสวัสดีคุณครู


การจัดลำดับเหตุการณ์ต่อจากเพลงสวัสดียามเช้า

เพลงที่ 3 เพลง หนึ่งปีมีสิบสองเดือน


ได้รู้จักจำนวนเดือนในหนึ่งปีและจำนวนวันและวันต่างๆในหนึ่งสัปดาห์

เพลงที่ 4 เพลงเข้าแถว


สอนการเข้าแถว
เพลงที่ 5 เพลงจัดแถว


สอนการจัดแถว
เพลงที่ 6 เพลงซ้าย - ขวา


ให้รู้จักซ้ายและขวา

เพลงที่ 7 เพลงขวดห้าใบ


ได้รู้จักการลดจำนวนตามลำดับ

คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์

1. ตัวเลข  คือ จำนวนตัวเลขฮินดูอารบิคและตัวเลขไทย
2. ขนาด   คือ  หนา , บาง , เล็ก , ใหญ่ เป็นต้น
3. รูปร่าง   คือ ทรงกลม , สามเหลี่ยม , สี่เหลี่ยม , วงกลม เป็นต้น
4. ที่ตั้ง   คือ  ตรงนี้ , ตรงนั้น , เหนือ , ใต้ เป็นต้น
5. ค่าของเงิน  คือ บาท , สตางค์ เป็นต้น
6. ความเร็ว  คือ เร็ว - ช้า , ถี่ , คืบคลาน , เฉื่อย เป็นต้น
7. อุณหภูมิ   คือ  หนาว , ร้อน , อบ , ชื้น เป็นต้น

มาตรฐานการวัดในระบบเมดริก

1. คำศัพท์ที่เด็กควรทราบ
2. ระบบเมดริกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
3. การวัดเรื่องเวลา  

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ

- การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
- การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิคและตัวเลขไทย ใช้รูปภาพ สิ่งของ , สั้ตว์ให้เด็กรู้แทนได้ให้เด็กเชื่อมโยงภาพกับตัวเลขนั้นๆได้
- การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิคและตัวเลขไทย
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวน

การรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม

- ความหมายการรวมกลุ่ม คือ การรวมกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10 
- ความหมายการแยกกลุ่ม คือ การแยกกลุ่มจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10

สาระที่ 2 การวัด

- เข้าใจพื้นฐานการวัดความยาว น้ำหนัก , ปริมาตร , เงินและเวลา

สาระที่ 3 เรขาคณิต

- ใช้คำบอกตำแหน่ง , ทิศทางและระยะทาง 
- รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ

ทักษะที่ได้จากการเรียน


1.ทักษะการนับจำนวนและการแยกกลุ่ม
2.ทักษะการบูรณาการการเรียนคณิตศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน
3.ทักษะการเขียนตารางการมาเรียนของเด็ก
4.ทักษะการเรียงลำดับ
5.ทักษะการคิดตอบคำถามจากปัญหาที่อาจารย์ได้ตั้งคำถาม
6.ทักษะการฟังในการเรียน
7.ทักษะในการพูดตอบคำถาม
8.ทักษะการปฏิบัติกิจกรรมให้ตรงตามขอบเขตที่อาจารย์กำหนด
9.ทักษะการออกแบบร่างของสื่อ
10.ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


- รู้จักการนำประสบการณ์ในชีวิตประจำวันมาใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์

- การเขียนตารางการมาเรียนให้ถูกต้องและเหมาะสมกับเด็ก
- นำทักษะที่ได้จากการเรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอนของเด็กได้
- ปฏิบัติกิจกรรมให้อยู่ในขอบเขตที่อาจารย์กำหนด
- ออกแบบร่างสื่อให้ถูกวิธีมีการกำหนดวัตถุประสงค์ก่อนจะทำจริง
- นำเสนอหน้าชั้นเรียนให้เข้าใจ  ออกเสียง ร , ล ให้ชัดเจนและสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้


ประเมินตนเอง


วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ  สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียนได้เข้าใจ  รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์  พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม  ตั้งใจฟัง
เพื่อนๆที่นำเสนอและเข้าใจเนื้อหาของหัวข้อที่เพื่อนนำเสนอ ได้รู้จักการเขียนตารางการมาเรียน และสามารถนำมาสอนให้เด็กรู้จักคณิตศาตร์ได้มากขึ้น ทำให้เข้าใจเนื้อหาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้มากขึ้น


ประเมินเพื่อน


วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ อาจมีบางคนยังทำกิจกรรมพลาดบ้าง แต่ก็พยายามที่แก้ไขให้ถูกต้อง  สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียน  รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์  พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม มีการนำเสนอที่เข้าใจ แต่บางคนอาจมีเนื้อหาไม่ชัดเจนและยังไม่มั่นใจในการนำเสนอ แต่รับฟังคำแนะนำของอาจารย์อยู่เสมอ  มีการคิดตามเนื้อหาระหว่างที่เรียนและช่วยกันตอบคำถามค่ะ



เทคนิคการสอนและประเมินอาจารย์ผู้สอน


อาจารย์มีการนำกิจกรรมมาให้ปฏิบัติก่อนเริ่มเนื้อหาการสอน มีการยกตัวอย่างในการสอนทำให้เข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้ง่าย  และสามารถนำมาปรับใช้ได้ในการเรียนการสอน  อาจารย์ได้ให้คำแนะนำตลอดการเรียนการสอน อธิบายเนื้อหาเรื่องที่เรียนได้ละเอียดและชัดเจน มีการคอยรับฟังคำถามหรือเรื่องที่นักศึกษาสงสัยจากเนื้อหาที่เรียนเมื่อจบการเรียนการสอนของวิชาเสมอ แนะนำการออกแบบร่างสื่อให้ถูกต้องและชัดเจนค่ะ










สรุปบทความ , วิจัย และวีดีโอโทรทัศน์ครูที่นำเสนอในวันนี้



สรุปบทความ เรื่อง เสริมการเรียนเลขให้ลูกวัยอนุบาล ของ น.ส.เกตุวรินทร์  นามวา  เลขที่ 4


1.เข้าใจด้วยระบบสัญลักษณ์ เด็กวัยนี้จะนับเลข 1- 5 ได้ แต่ไม่รู้ถึงจำนวนค่าเท่าไรเด็กจะยังไม่เข้าใจ ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยกันสร้างความเข้าใจแก่เขา โดยการใช้ระบบสัญลักษณ์ (ภาพหรือสิ่งของที่จับต้องได้) แทนตัวเลข เพราะเด็กจะเข้าใจง่ายกว่า
 2. เด็กวัยอนุบาลจะทำกิจกรรมโดยใช้ประสาทสัมผัสตากับมือเป็นหลัก การนับสิ่งของที่มี 2 แถว แถวหนึ่งวางห่างกัน แถวสองวางชิดกัน เขาจะบอกว่าแถวที่วางห่างกันมีจำนวนมากกว่า เพราะยาวกว่า คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยอธิบายให้ลูกฟังอย่างใจเย็นที่สุด
3. ทักษะทางภาษายังต้องสั่งสม  ทักษะทางภาษาเป็นสิ่งสำคัญมากในการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งสำหรับเด็กวัยอนุบาลยังต้องได้รับการกระตุ้นเรื่องการสื่อสาร เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาที่ดีขึ้น อันจะส่งผลให้เขาสามารถตั้งคำถามและอธิบายเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนได้ เช่น มีของอยู่ 3 ชิ้น คุณแม่ให้เพิ่มอีก 2 ชิ้น หากเขามีทักษะทางภาษาที่ดีเขาจะต้องเข้าใจคำว่า “เพิ่ม” คืออะไร และจะนำมาซึ่งกระบวนการคิดและตอบคำถามอย่างถูกต้อง

กระบวนการคิดและคณิตวัยอนุบาล


การเรียนคณิตศาสตร์ของวัยอนุบาลคือ คุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจในพัฒนาการของช่วงวัยไม่ควรคาดหวังสูงเพราะคณิตศาสตร์คือทักษะที่ต้องทำซ้ำ ทำบ่อย หมั่นทบทวนอยู่ตลอดเวลาจึงเป็นไปได้อยากที่ครั้งแรกจะถูกเสมอไป ไม่โมโห ดุด่าเพราะสาเหตุที่ทำไม่ได้ดังใจฉะนั้นการจะให้ลูกตอบได้ในครั้งเดียวนั้นถือเป็นการคาดหวังที่สูงมาก การพัฒนาเรื่องกระบวนการคิดของเด็ก จึงเป็นแนวทางในการช่วยส่งเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ของลูกได้เป็นอย่างดีและแนวทางที่สำคัญอีกทางคือ ครอบครัว สรุปบทความ , วิจัย และวีดีโอโทรทัศน์ครูที่นำเสนอในวันนี้







สรุปวิจัยเรื่องการจัดประสบการณ์อาหารพื้นบ้านอีสาน ของ น.ส.จิรญา พัวโสภิต เลขที่ 5

ทำการทดลองกับเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2  โรงเรียนโลกเต็นวิทยาคม

กระบวนการเรียนรู้ในการทำกิจกรรมเรื่องของคณิตศาสตร์

1. ด้านการเปรียบเทียบ
2. ด้านการจัดหมวดหมู่
3. ด้านการเรียงลำดับ
4. ด้านการรู้ค่าจำนวน

ระยะเวลาการทดลอง

ระยะที่ 1 
- ขั้นเตรียมก่อนการประกอบอาหาร การนำเข้าสู่กิจกรรมโดยใช้สื่อจริง เพลง คำคล้องจอง รูปภาพ เพื่อกระตุ้นความสนใจของเด็ก
ระยะที่ 2 
- ขั้นจัดประสบการณ์ประกอบอาหาร  ให้เด็กเข้ากลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง  โดยที่เด็กได้เปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ ผ่านการประกอบอาหาร
ระยะที่ 3 
- ขั้นสรุป เป็นการสนทนาพูดคุยโดยใช้คำถามปลายเปิดเกี่ยวกับลักษณะวัตถุดิบที่ใช้ประกอบอาหาร และให้วาดภาพแสดงผลงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน

สิ่งที่เด็กได้รับ

1. เรียนรู้เกี่ยวกับโภชนาการ และอาหารหมูาต่างๆ
2. รู้จักคำนวณ เช่น การวัด การกะ ปริมาณ
3. พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ การประสานสัมพันธ์ตากับมือ
4. ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การสังเกต การชิมรส การดมกลิ่น การฟัง และการสัมผัส
5. รู้จักทำงานเป็นกลุ่ม






สรุปวีดีโอโทรทัศน์ครู ของ น.ส.บงกช  เพ่งหาทรัพย์  เลขที่ 6

สอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยด้วยนิทาน (มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา)

ด้วยความมุ่งหวังที่จะสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย จำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ในแง่มุมใหม่ๆ ที่ไม่ใช่แค่การนับจำนวนและการท่องจำ อ.ธิดารัตน์จึงมุ่งเน้นการสอนนักศึกษาให้เน้นการนำกิจกรรมไปสอนและปลูกฝังความรักคณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆ โดยเฉพาะการใช้ "นิทาน"เป็นสื่อช่วยสอน เพราะเด็กปฐมวัยทุกคนชอบนิทานอยู่แล้ว ถ้าครูนำนิทานมาบูรณาการสอนเด็กๆจะทำให้เข้ารู้สึกสนุกและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่อไป โดยการเล่านิทานลูกหมู 3 ตัวเด็กจะได้ทราบถึงการเปรียบเทียบขนาด น้ำหนัก และขนาด




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น