บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้เพื่อนๆและอาจารย์เข้าห้องเรียนในเวลาใกล้กันเลยค่ะ อาจารย์จะแจกกระดาษให้เขียนชื่อของตนเองใหม่เพราะกระดาษในครั้งที่แล้วหายไปค่ะ เมื่อแจกเสร็จก็นำไปติดไว้ในตารางบนกระดานเหมือนเดิมค่ะ เมื่ออาจารย์เริ่มสอนเพื่อนจะตั้งใจฟังและจดบันทึกระหว่างเรียนกันในขณะที่อาจารย์สอน และมีการตอบคำถามร่วมกันเหมือนครั้งที่ผ่านมาค่ะ อาจมีปัญหาในการเรียนการสอนบ้าง แต่ก็สามารถผ่านไปได้ด้วยดีค่ะ
เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ
- ตารางเวลาในการมาเรียน
- การส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก
- การนำภาพมาเชื่อมโยงในการปฏิบัติ
- การนำตารางการมาเรียนมาใช้ในโรงเรียน
- เวลาสำหรับเด็กปฐมวัย
- การนำเสนอและการออกแบบข้อมูลด้วยรูปภาพ
- การนับจำนวน
- การสอนให้เด็กจำตัวเลขคณิตศาสตร์ได้
- วิธีการจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก
- การปฏิบัติกิจกรรมของเด็ก
- พื้นฐานของการคิดเลขสำหรับเด็ก
- การเปรียบเทียบจำนวนและประสบการณ์การเรียนคณิตศาสตร์
- การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- เพลงคณิตศาสตร์ , การแต่งเพลง , ดัดแปลงเพลง
- คำคล้องจองคณิตศาสตร์
- ลักษณะหลักสูตรที่ดี
- สาระในการสอนคณิตศาสตร์
- การจัดการสอนให้สอดคล้องกับการเรียนของเด็ก
ความรู้ที่ได้รับ
- การทำตารางเวลามาเรียนนั้นเป็นการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เพื่อให้เด็กได้บันทึกข้อมูล สามารถนำเสนอข้อมูลเป็นแบบแผนภูมิได้
- การสร้างภาพขึ้นมาให้เด็กเห็นนั้นสามารถนำมาเชื่อมโยงในการปฏิบัติได้
- รู้จักใช้ตารางให้เป็นประโยชน์สามรถนำไปใช้เป็นในการสอนในโรงเรียน
- การนำกระดาษมาติดบนกระดานในช่องตารางการมาเรียนเป็นการนำเสนอข้อมูลที่เป็นรูปภาพ จะทำให้เด็กได้ประสบการณ์การเห็นตัวเลขหลากหลาย
- การออกแบบสื่อควรมองให้เป็นภาพรวม สามารถหยืดหยุ่นและนำไปใช้ในรูปแบบต่างๆได้
- การนับจำนวนเด็กมาก่อน - หลัง เป็นการนับบอกจำนวน ควรใช้เลขฮินดูอารบิคกำกับเพื่อแสดงจำนวนการมาก่อน - หลัง ได้
- การที่จะให้เด็กรู้จักตััวเลขได้นั้น คือ การใช้ภาพตัวเลขแล้วให้เด็กหยิบตัวเลขนั้นๆ จะทำให้เด็กสามารถจำตัวเลขได้ง่ายขึ้น
- การจัดกิจกรรมนั้นต้องดูพัฒนาการของเด็ก คือ สิ่งที่เด็กสามารถทำได้ในแต่ละช่วงวัยที่จะมีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับขั้นตอน และสังเกตดูว่าเด็กสามารถทำอะไรได้บ้าง
- การให้เด็กปฏิบัติด้วยตนเองจะเป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก เด็กแต่ละคนจะมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน และเป็นพื้นฐานของการคิดเลข
- ถ้าเด็กเขียนตัวเลขไม่ได้ให้เด็กใช้ภาพแทนในการสอนคณิตศาสตร์
- การเขียนตารางการมาเรียนนั้นจะเป็นประสบการณ์ในการเรียนคณิตศาสตร์และได้เปรียบเทียบจำนวนมากกว่า - น้อยกว่า
- การนำเสนอหน้าชั้นเรียนควรพิจารณาการนำเสนอของตนเองว่าดีหรือไม่และควรนำไปปรับปรุงและนำมาเสนอใหม่หรือไม่ ควรมีท่าทางการยืนและหน้าตาที่เหมาะสมในการนำเสนอ , จับใจความสำคัญของเรื่องที่นำเสนอให้ได้และออกมาเล่าให้ฟังได้ชัดเจนและเข้าใจ
- การสอนเพลงคณิตศาสตร์ สามารถเปลี่ยนแปลงหรือดัดแหลงเนื้อเพลงได้ แต่ใช้ทำนองเพลงเดิม เพราะจะช่วยกระตุ้นให้เด็กตั้งใจฟังและสนใจในการสอนมากขึ้น สามารถนำไปควบคุมและจัดการเรียนได้ เป็นครูนั้นต้องรู้จักการดัดแปลงเพลงได้ เป็นเทคนิคในการนำเข้าสู่บทเรียนการสอนได้
- การสอนร้องเพลงนั้นควรเริ่มให้เด็กอ่านเนื้อร้องและรู้ทำนองก่อน
ภาพบทเพลงคณิตศาสตร์
เพลงที่ 1 เพลงนกกระจิบ
เพลงที่ 2 เพลงนับนิ้วมือ
เพลงที่ 3 เพลงจับปู
เพลงที่ 4 เพลงลูกแมวสิบตัว
เพลงที่ 5 เพลงบวก - ลบ
ตัวอย่างที่ดัดแปลงเนื้อเพลงบวก - ลบ
บ้านฉันเลี้ยงควายหกตัว ลุงให้อีกสี่ตัวนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ ดูซิเธอรวมกันได้สิบตัว
บ้านฉันเลี้ยงควายสิบตัว หายไปสามตัวนะเธอ
ฉันหาควายแล้วไม่เจอ ดูซิเออเหลือเพียงแค่เจ็ดตัว
ภาพตัวอย่างคำคล้องจอง
- การสอนคณิตศาสตร์จะมีทั้ง 6 สาระการเรียนรู้
- การจัดการเรียนนั้นควรจัดให้สอดคล้องกับกรเรียนของเด็กมีความสมดุลและเกิดความคิดรวบยอด เกิดกระบวนการคิด
- ไม่ควรตำหนิเด็กในการเรียนการสอนเพราะจะทำให้เด็กขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
- การบรรยาย คือ การพูดสรุปใจความเรื่องนั้น
- ทักษะนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง
ลักษณะหลักสูตรที่ดี มีความสมดุลในเรื่องต่อไปนี้
1. เน้นกระบวนการคิดและการคิดรวบยอด
2. เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวันไม่ใช่การท่องจำ
3. แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆและสัญลักษณ์ต่างๆอย่างค่อยเป็นค่อยไป
4. สร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ
5. ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม
6. เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทักษะคณิตศาสตร์ไปพร้อมกัน
7. เป็นโอกาสให้เด็กค้นคว้าสำรวจ ปฏิบัติ รู้จักติดสินใจด้วยตนเอง
ทักษะที่ได้จากการเรียน
1.ทักษะการบันทึกข้อมูลและการนำเสนอข้อมูล
2.ทักษะการบูรณาการการเรียนคณิตศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน
3.ทักษะการเขียนตารางการมาเรียนของเด็ก
4.ทักษะการสอนเรื่องเวลาสำหรับเด็ก
5.ทักษะการคิดตอบคำถามจากปัญหาที่อาจารย์ได้ตั้งคำถาม
6.ทักษะการฟังในการเรียน
7.ทักษะในการนับจำนวน
8.ทักษะการใช้รูปภาพและนำมาเชื่อมโยงการฏิบัติ
9.ทักษะการร้องเพลงและการสอนร้องเพลง , คำคล้องจองคณิตศาสตร์
10.ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- การนำตารางการมาเรียนมาใช้ในการเรียนการสอนให้เหมาะสม
- นำทักษะที่ได้จากการเรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอนของเด็กได้
- สอนเรื่องเวลาการนับจำนวนสำหรับเด็กได้เหมาะสม
- การนำรูปภาพมาเชื่อมโยงในการปฏิบัติ
- ดัดแปลงเนื้อเพลงและฝึกร้องเพลงเพื่อนำไปการเรียนการสอนใช้ในอนาคต
- ฝึกการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและปฏิบัติกิจกรรมอย่างตั้งใจ อาจผิดพลาดบ้าง แต่ก็พยายามที่แก้ไขให้ถูกต้อง สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียน รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์ ตั้งใจฟังเพื่อนๆที่นำเสนอ ได้รู้จักการเขียนตารางการมาเรียนมากขึ้น พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม รับฟังคำแนะนำของอาจารย์อยู่เสมอ
ประเมินเพื่อน
วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียน รับฟังความคิดเห็นของกันและกันในการตอบคำถามของอาจารย์ พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม มีการนำเสนอที่เข้าใจ แต่บางคนอาจมีเนื้อหาไม่ชัดเจนแต่เพื่อนก็ได้คิดจะนำไปแก้ไขในครั้งหน้า รับฟังคำแนะนำของอาจารย์อยู่เสมอ อาจมีบางคนทำผิดพลาดบ้าง แต่ก็พยายามที่แก้ไขให้ถูกต้อง มีการคิดตามเนื้อหาระหว่างที่เรียนและช่วยกันตอบคำถามค่ะ
เทคนิคการสอนและประเมินอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์มีการนำกิจกรรมมาให้ปฏิบัติก่อนเริ่มเนื้อหาการสอน มีการยกตัวอย่างในการสอนทำให้เข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้ง่าย และสามารถนำมาปรับใช้ได้ในการเรียนการสอน อาจารย์ได้ให้คำแนะนำตลอดการเรียนการสอน อธิบายเนื้อหาเรื่องที่เรียนได้ละเอียดและชัดเจน มีการคอยรับฟังคำถามหรือเรื่องที่นักศึกษาสงสัยจากเนื้อหาที่เรียนเมื่อจบการเรียนการสอนของวิชาเสมอ คอยตักเตือนนักศึกษาเมื่อทำผิดพลาดและให้นักศึกษาได้ช่วยกันคิดว่าควรแก้ไขให้เหมาะสมอย่างไร อาจารย์ได้ทรอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการสอนควรยอมรับและแก้ไขในสิ่งที่ทำผิดพลาดไป และให้ทบทวนว่าควรทำอย่างไร อาจารย์ให้คำแนะนำการทำของเล่นคณิตศาสตร์ได้เข้าใจและชัดเจนทำให้สามารถนำปฏิบัติได้ค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น