วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

การเรียนรู้ครั้งที่ 3 วันพุธที่ 20 มกราคม เวลา 8.30.น. - 12.30 น.




บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้


วันนี้อาจารย์และนักศึกษามากันตรงเวลาแต่อาจมีบางคนที่มาสาย  ทำให้เริ่มเรียนกันอย่างตั้งใจ อาจารย์ได้แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น แต่มีความรู้สึกตื่นเต้นกันเหมือนเดิมว่าอาจารย์จะให้ทำกิจกรรมอะไรต่อ  เมื่ออาจารย์เริ่มกิจกรรม ทุกคนจะตั้งใจฟังปฏิบัติตามอาจารย์ และร่วมแสดงความคิดเห็น  มีความสนใจในการเรียนและการทำกิจกรรมตลอด เป็นอีกวันที่มีบรรยากาศในการเรียนที่ดีค่ะ


เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ


เรื่องที่เรียน

- การแบ่งกระดาษ 4 ส่วน ในแนวต่างๆให้เท่ากันและการฉีกกระดาษด้วยมือเปล่า
- ประสบการณ์จากการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
- วิธีการใช้คณิตศาสตร์ในหลากหลายวิธี
- การคิดหลากหลาย , การปรับตัว และการแก้ไขปัญหาของตนเองตามสถานการณ์ต่างๆ
- การตระหนักถึงการเป็นครูที่ดี
- คำขวัญวันครู
- การมีเป้าหมายในการใช้ชีวิตประจำวัน
- การออกแบบการวางตัวหนังสือ , จังหวะในการออกแบบและการเขียน
- การปฏิบัติกิจกรรมให้ตรงตามขอบเขตที่อาจารย์กำหนด
- การมีคุณธรรมในการเป็นครู
- วิธีการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์ , สาระมาตรฐานการเรียนรู้และคุณภาพของเด็กเมื่อจบการเรียนรู้

ความรู้ที่ได้รับ

- ได้รู้วิธีการแบ่งกระดาษในแนวต่างๆ ทั้งแนวตั้ง , แนวนอน ให้ได้ 4 ส่วนและเท่ากัน และครูต้องสามารถฉีกกระดาษได้ด้วยมือเปล่าอย่างสวยงาม เมื่อนับกระดาษไปแปะรวมกันบนกระดาน ในการนับกระดาษนั้นถ้าอยากนับให้ง่ายต้องวางให้เป็นแถวและเป็นระเบียบ  ในการทำกิจกรรมนั้นควรมีหลากหลายวิธีในการทำเพราะจะเป็นประสบการณ์สำคัญในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และนำไปใช้ชีวิตประจำวันได้
- รู้จักการคิดหลายทาง , การปรับตัวและการแก้ไขปัญหาควรมีหลากหลายเส้นทางเหมือนคณิตศาสตร์ ควรมีหลากหลายวิธีในการเรียน คิดในรูปแบบใหม่อยู่เสมอ
- ได้รู้ว่าการสอนเด็กนั้น ครูต้องตระหนักถึงความเป็นครูที่ดีเสมอ เป็นครูที่มีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นการสร้างแรงบันดาลใจและต้องเตรียมตัวให้มีคุณภาพ มีการเตรียมพร้อมทั้งกายและใจ มีความเชื่อมั่นในวิชาชีพครู
- การใช้ชีวิตประจำวันนั้นควรตั้งเป้่าหมายไว้เสมอ ว่าควรดำเนินชีวิตไปในทางแบบใดให้มีคุณภาพ
- รู้ว่าการเป็นครูนั้นควรนึกถึงคำขวัญวันครูเสมอ คือ " อนาคตก้าวไกล  ด้วยครูดีมีคุณภาพ "
- รู้จักการออกแบบการวางตัวหนังสือให้เหมาะสมกับพื้นที่ในกระดาษ  รู้จักจังหวะในการออกแบบ ต้องรู้ว่าบางจังหวะต้องมีอิสระ บางจังหวะต้องมีระเบียบวินัย การเขียนนั้นต้องเขียนจากซ้ายไปขวา และในการคาดการณ์ของตนเองในการทำควรอยู่ในขอบเขตที่กำหนด
- การนำเสนอหน้าชั้นเรียนควรอธิบายให้ชัดเจนและจับใจความสำคัญว่าใคร ,ทำอะไรและอย่างไร ให้เข้าใจและไม่ควรอธิบายเร็วเกินไป ควรมีการยกตัวอย่างและวิธีการที่สามารถเข้าใจได้ละเอียด
- ได้รู้ว่าการที่เด็กชอบทำอะไรนั้นเพราะเด็กมีวิธีการ รูปแบบนั้นโดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กับวัตถุในการเรียนรู้ และจังเป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
- ได้รู้ว่าเด็กปฐมวัยเรียนคณิตศตร์เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆทางคณิตศาสตร์ เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา อนุบาลนั้นจะเป็นการเตรียมความพร้อมทางประสบการณ์วิชาคณิตศาสตร์

สาระมาตรฐานการเรียนรู้


1. จำนวนการดำนเนินการ
2. การวัด
3. เรขาคณิต
4. พีชคณิต
5. การคิดวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6. ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

คุณภาพของเด็กเมื่อจบการเรียนรู้ 

1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ ( Mathematical Thinking )

- จำนวน 1 - 20 เด็กรู้จักจำนวนตัวเลข
- เข้าใจหลักการนับ เวลานับต้องนับเพิ่มขึ้นหรือลดลง
- รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิคและตัวเลขไทย
- รู้ค่าของจำนวน
- เปรียบเทียบและเรียงลำดับ
- การรวมและการแยกกลุ่ม การรวมจะเป็นการบวกส่วนการแยกกลุ่มจะเป็นการลบ
2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานความยาว , น้ำหนัก , ปริมาตร , เงินและเวลา
- รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
- เปรียบเทียบเรียงลำดับ  วัดความยาว , น้ำหนัก , ปริมาตร
- เข้าใจเวลาและคำที่ใช้บอกเวลา
3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเรขาคณิต
- ตำแหน่ง , ทิศทางและระยะทาง
- รูปทรงเรขาคณิต มิติและรูปเรขาคณิต มิติ
4. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานแบบรูปของรูปที่มีรูปร่างขนาดสีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล  นำเสนอข้อมูลรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
6. มีทักษะกระบวนการคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

ทักษะที่ได้จากการเรียน


1.ทักษะการคิดการแบ่งกระดาษด้วยหลากหลายวิธี และการแบ่งให้เท่ากัน
2.ทักษะการนำประสบการณ์จากการใช้ชีวิตประจำวันมาใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์
3.ทักษะการเขียนเพื่อสรุปการเรียนรู้
4.ทักษะการหาเป้าหมายในชีวิตของตนเอง
5.ทักษะการคิดตอบคำถามจากปัญหาที่อาจารย์ได้ตั้งคำถาม
6.ทักษะการฟังในการเรียน
7.ทักษะในการพูดตอบคำถาม
8.ทักษะการปฏิบัติกิจกรรมให้ตรงตามขอบเขตที่อาจารย์กำหนด
9.ทักษะการค้นหาคำตอบด้วยวิธีใหม่ๆ
10.ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


- รู้จักการนำประสบการณ์ในชีวิตประจำวันมาใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์
- มีการกำหนดเป้าในชีวิตของตนเอง
- ปฏิบัติกิจกรรมให้อยู่ในขอบเขตที่อาจารย์กำหนด
- ตระหนักถึงการเป็นครูที่ดี ควรมีคุณธรรม จริยธรรมและมีการเตรียมความพร้อมและทำให้ตนเองมีคุณภาพในการเป็นครู เชื่อมั่นในวิชาชีพ
- นำเสนอหน้าชั้นเรียนให้เข้าใจได้ชัดเจนและสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้


ประเมินตนเอง


วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ  สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียนได้เข้าใจ  รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์  พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม ทำกิจกรรมการแบ่งกระดาษได้ดีแต่อาจออกแบบการเขียนในกระดาษไม่เหมาะสมกับพื้นที่ แต่ได้นำไปปรับปรุงแก้ไขให้ออกมาพอดีกับพื้นที่แล้วค่ะ การนำเสนอหน้าชั้นเรียนวันนี้ได้นำเสนอเป็นคนแรก ทำให้ผิดพลาดไปบ้างในการอธิบาย แต่อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและคิดว่าจะนำไปปรับปรุงในการนำเสนอครั้งต่อไปได้ค่ะ  สามารถเข้าใจวิชานี้ได้มากขึ้นเพราะได้รู้ว่าเด็กปฐมวัยจะเรียนอะไรในคณิตศาสตร์บ้าง  รู้จักการเรียนวิชานี้มากขึ้นเรื่อยๆค่ะว่าต้องเรียนเกี่ยวกับอะไร


ประเมินเพื่อน


วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ อาจมีบางคนยังทำกิจกรรมพลาดบ้าง แต่ก็พยายามที่แก้ไขให้ถูกต้อง  สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียน  รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์  พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม  มีการคิดตามเนื้อหาระหว่างที่เรียนและช่วยกันตอบคำถามค่ะ


เทคนิคการสอนและประเมินอาจารย์ผู้สอน


อาจารย์มีการนำกิจกรรมมาให้ปฏิบัติก่อนเริ่มเนื้อหาการสอนโดยให้นักศึกษาแบ่งกระดาษให้ได้ 4 ส่วนเท่าๆ กันและให้มีวิธีการแบ่งที่หลากหลาย และสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการเป็นครูว่าควรตระหนักถึงการเป็นครูที่ดีและมีคุณภาพ  ควรเตรียมความพร้อมทั้งกายและใจ มีความเชื่อมั่นในวิชาชีพ ทำให้รู้สึกมีแรงบันดาลใจในการเรียนมากขึ้น อาจารย์ได้ให้คำแนะนำตลอดการเรียนการสอน อธิบายเนื้อหาเรื่องที่เรียนได้ละเอียดและชัดเจน มีการยกตัวอย่างในเนื้อหาที่เรียนทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น คอยรับฟังคำถามหรือเรื่องที่นักศึกษาสงสัยจากเนื้อหาที่เรียนเมื่อจบการเรียนการสอนของวิชาเสมอ








สรุปบทความ , วิจัย และวีดีโอโทรทัศน์ครูที่นำเสนอในวันนี้


บทความเรื่อง เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์ของ น.ส.ไพจิตร  ฉันทเกษมคุณ เลขที่ 1


           การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก  ได้แก่  จำนวนและการดำเนินการ  จำนวน การรวมกลุ่ม  และการแยกกลุ่ม  การวัด  ความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร เงิน  และเวลา  เรขาคณิต ตำแหน่ง  ทิศทาง  ระยะทาง  รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก ต้องคำนึงถึงขั้นตอนการเรียนรู้ของเด็ก ได้แก่ ทบทวบความรู้พื้นฐาน  สอนเนื้อหาใหม่  สรุปสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์  ฝึกทักษะหรือฝึกปฏิบัติ  นำความรู้ไปใช้     วัดและประเมินผล  การเรียนรู้โดยให้เด็กมีส่วนร่วมรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ  ควรคำนึงถึงความสนใจและความแตกต่างของเด็กแต่ละคน  นอกจากนั้น เทคนิคการจูงใจให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์อีกอย่าง คือ ให้เด็กได้เรียนรู้และค้นพบสิ่งท้าทาย ด้วยกิจกรรมและเกมที่ช่วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมสนุกพร้อมสอดแทรกเนื้อหาความรู้เข้าไป







วิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้จากการสาน ของ น.ส.ภาวิดา บุญช่วย เลขที่ 2

 โดยมีขั้นตอนดังนี้

 1. ทำการประเมินทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กก่อนทำการทดลองจากนั้นทำมาตรวจคะแนนตามเกณฑ์และเก็บคะแนนเป็นหลักฐาน
2.ดำเนินการทดลองในกิจกรรมการสาน 8 สัปดาห์ 4 วัน จำนาน 32 ครั้ง วันละ 30-50 นาที
3.เมื่อสิ้นสุดการทดลองผุ้วิจัยประเมินทักษะพื้นฐานชองเ็กหลังการทดลอง

การสังเกตที่ได้รับจากการวิจัย

-สัปดาห์แรกเด็กต้องการการปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมจากการทำกิจกรรมสาน แต่เป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่ จึงต้องใช้เวลา ในการอธิบายวิธีการทำ
-ขณะที่ทำกิจกรรมเด็กมีความสนใจและกระตือรือร้นมาก
-เด็กเรียนรู้สื่อใหม่และอุปกรณ์ที่หลากหลาย
- กิจกรรมการสานทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสพื้นฐานตร์ได้ด้วยตนเอง และมีพัฒนาการด้านอื่นอีกด้วย เช้น ได้ใช้กล้ามเนื้อมือ และตาสัมพัธ์กัน

สรุปผล

1.ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมหลังทำกอจกรรมสานสูงกว่าก่อนทำกิจกรรม
2.เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อนทำการทดลองโดยรวมและรานด้านทุกด้าน พอใช้ แต่หลังจัดกิจกรรมสานเด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านทุกด้าน ในระดับดี







วีดีโอโทรทัศน์ครู เรื่องสาระความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมคณิตปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัว  ของ น.ส. สิริกัลยา  บุญทนแสนทวีสุข เลขที่ 3

มี 6 กิจกรรม

1. กิจกรรม : ปูมีขา  เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กรู้ว่าปูมีขา 8 ขา และก้ามปูอีก 2 ก้าม ซึ่งให้เด็กเปรียบเทียบ เรียนรู้จากการนับนิ้วมือ  ให้มิือเป็นเหมือนขาของปู
2. กิจกรรม : ต้นไม้ใกล้ตัว  พาเด็กไปเรียนที่ใต้ต้นไม้ นอกห้องเรียน ซึ่งจะนำใบไม้ร่วงมาเปรียบเทียบ มานับจำนวน มากกว่าน้อยกว่า โดยที่ครูจะเป็นคนกำหนดโจทย์ให้ 
3. กิจกรรม : ใบไม้แสนสวย  เช่น การจัดกิจกรรมจากการร้อยใบไม้ เริ่มจากใบไม้กลม หยัก เหลี่ยม รี หรือกิจกรรมการพิมพ์ภาพจากใบไม้ให้เท่าจำนวนตัวเลขที่ครูกำหนดมาให้ หรือกิจกรรมการฉีกปะใบไม้ ลงในตัวเลขที่ครูพิมพ์ไว้ให้ โดยให้เด็กเลือกเองตามใจชอบ 
4. กิจกรรม : มุมคณิต  การนำสิ่งต่าง ๆ ในครัวเรือน เช่น พืชผัก ไข่ เมล็ดพืช  ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กรู้จักและคุ้นเคย โดยมีบัตรภาพที่กำหนดตัวเลขไว้ ให้เด็กเลือกสิ่งใดก็ได้ มาวางให้ตรงกับจำนวนในบัตรเลขนั้น
5. กิจกรรม : เกมกระต่ายเก็บของ  เป็นการเก็บของโดยการจัดอันดับ 5 สิ่ง คือ ก้อนหิน ไม้บล็อก ตะกร้า โดยวิ่งไปเก็บของตามลำดับใส่ตะกร้าให้ครบ ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ได้
6. กิจกรรม : เกมก้อนหินหรรษา  เป็นการนำก้อนหิน 2 สี คือ สีขาวกับสีแดง มาเรียงตามจำนวนในบัตรภาพหรือบัตรตัวเลข

ประโยชน์จากการทำกิจกรรม

ทำให้เด็กเรียนรู้การใช้เงิน รู้จักเบอร์โทรศัพท์ของผู้ปกครอง ป้ายทะเบียนรถ ตัวเลขต่าง ๆ เป็นต้น ที่สำคัญคือ เด็กมีความสุขในการทำกิจกรรมและการเรียนรู้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น