วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559



      สรุปวิจัย    



เรื่องทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่

ปริญญานิพนธ์ ของ กมลรัตน์ กมลสุทธ


                 ผลการศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ ตามแนวมอนเตสซอรี่ในด้านการจ าแนก การเรียงล าดับ และการนับ ผลการวิจัยพบว่า ทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่อยู่ในระดับดี ทัักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนว มอนเตสซอรี่โดยรวมประกอบด้วยด้านการจำแนก ด้านการเรียงลำดับและด้านการนับหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น ทั้งนี้เพราะการ จัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ได้โดยเด็กเรียนรู้การใช้สื่ออุปกรณ์การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ เด็กเลือกงานด้วยใจ อิสระ จะปฏิบัติงานที่มุมใดของห้อง ปฏิบัติงานด้วยจังหวะช้าเร็วของตนเอง เด็กเป็นตัวของตัวเอง อิสระและผ่อนคลาย สนุกสนานเพลิดเพลิน มีสมาธิในการปฏิบัติงานและได้ฝึกทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ทำให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์  เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้เป็นรายบุคคล เด็กได้ฝึกสัมผัสวัสดุอุปกรณ์ที่เตรียมไว้เป็น รายบุคคลโดยได้รับคำแนะนำการใช้ก่อนแล้วจากนั้นเด็กเลือกทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเองเป็น การฝึกการคิดริเริ่ม ความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง การลงมือปฏิบัติสื่ออุปกรณ์การเรียนของ มอนเตสซอรี่จะเปิดโอกาสให้เด็กฝึกปฏิบัติ ลองผิด ลองถูก ไม่กลัวผิด กล้าเสี่ยงและเมื่อเด็กทำได้เด็ก จะรู้สึกพอใจและภูมิใจในผลงานของตนเอง  กิจกรรมในกลุ่ม ประสาทรับรู้เป็นการฝึกฝนตามระบบคำสั่ง ปฏิบัติตามขั้นตอน สังเกต ทดลอง จำแนก ค้นหาความ แตกต่าง การจับคู่ การจัดลำดับ การหาความหลากหลายและเรียนรู้ภาษาของคณิตศาสตร์ อุปกรณ์ หลายชุดในกลุ่มประสาทรับรู้ถูกผลิตขึ้นมาให้มีจ านวนเพียง 10 ชิ้น ทั้งนี้เพื่อให้เด็กมีโอกาสสำรวจ และมีประสบการณ์เกี่ยวกับระบบเลขฐานสิบ เด็กเห็นความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุรูปทรงเรขาคณิตทรง ทึบและรูปทรงเรขาคณิต เด็กได้พัฒนาการทางสม องโดยผ่านการมองสิ่งต่างๆ เหล่านี้ เด็กสามารถ จัดระบบได้จากความยุ่งยากซับซ้อน ความสามารถด้านนี้เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อใช้ในการแก้ปญหาเชิงคณิตศาสตร์

แหล่งที่มา : http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Kamolrat_K.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น