วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

การเรียนรู้ครั้งที่ 4 วันพุธที่ 27 มกราคม เวลา 8.30น.- 12.30 น.



บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้


วันนี้มีอากาศหนาวมากค่ะ ในห้องเรียนวันนี้ไม่ได้เปิดแอร์ ทำให้รู้สึกอบอุ่นสบาย อาจารย์มาสอนได้ตรงเวลา และได้แจกกระดาษแข็งให้คนละ 1 แผ่น  โดยให้เขียนชื่อของตนเองให้เหมาะสมกับพื้นที่ของกระดาษ เมื่ออาจารย์เริ่มกิจกรรม  ทุกคนจะตั้งใจฟังและปฏิบัติตามอย่างตั้งใจ  อาจารย์ได้มีกิจกรรมที่ให้ถาม - ตอบ เพื่อนๆจะช่วยกันแสดงความคิดเห็น  สนใจการเรียนและการทำกิจกรรมอยู่เสมอ 


เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ


เรื่องที่เรียน

- การเขียนตารางจำนวนคนมาและไม่มาเรียน
- ทักษะการนับจำนวน , ทักษะการแยกกลุ่ม
- การเรียงลำดับคนมาก่อนและหลัง
- การเขียนเรียงลำดับ
- การใส่ตัวเลขในตารางการมาเรียน
- คำศัพท์ที่มีในตารางการมาเรียน
- พื้นฐานการเปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวน
- การตั้งชื่อกลุ่มโดยการนำคณิตศาสตร์มาใช้
- การบูรณาการการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
- การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- การออกแบบร่างของสื่อ 
- ความต้องการของเด็ก
- การจัดการเรียนให้สอดคล้องกับเด็ก
- เพลงคณิตศาสตร์ , คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
- มาตรฐานการวัดในระบบเมดริก
- จำนวนและการดำเนินการ
- การรวมกลุ่มและการจับคู่
- การวัด , เรขาคณิต
- เวลา , การคิดอย่างมีเหตุผล 
- การจัดประเภทจับคู่ , การตัดสินใจ
- การคาดคะเนปริมาณและการเปรียบเทียบ

ความรู้ที่ได้รับ

- การเขียนตารางจำนวนการมาเรียนนั้นเป็นการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ในการใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้เด็กมีทักษะการนับจำนวน โดยการนับเพิ่มจำนวนคนมาได้ทีละ 1 เป็นการบวก จะทำให้ครูสามารถเช็คได้ว่าเด็กคนไหนมาก่อนและมาทีหลัง หรือกลับบ้าน ถ้าเด็กคนไหนมาก่อนนำชื่อไปแปะไว้ในช่องมาเรียน และเด็กคนที่ไม่มาก็จะอยู่ในช่องไม่มาเรียน จะทำให้เด็กได้ฝึกการนับจำนวนตัวเลขได้เร็วขึ้นจากการนับจำนวนคนในตาราง สามารถถาม - ตอบเด็กได้ว่าใครมาเรียนก่อนและหลังหรือไม่มา
- สิ่งที่จะบ่งบอกการเรียงลำดับจำนวนคนมาก่อนได้นั้น คือ การใส่ลำดับเลขที่  จะทำให้เด็กได้รู้จักตัวเลขจากการเรียงลำดับและสามารถกระตุ้นการอยากมาเรียนก่อนบ้าง เพื่อให้ได้อยู่ในลำดับที่แรกๆ
- เมื่อใดที่มีการปฏิบัตินั้นจะทำให้เด็กเกิดทักษะในการเรียนรู้ ครูจะออกแบบการเรียนรู้จะต้องมีจังหวะที่ดีในการสอน สามารถสอนได้ด้วยวิธีหลากหลายแบบ
- จะทำให้เด็กได้รู้คำศัพท์จากตารางได้ เรื่องลำดับที่หนึ่งและลำดับสุดท้าย  เด็กจะเรียนรู้จากการมองเห็นมากกว่าจึงต้องสอนให้เข้าใจโดยการพิสูจน์ด้วยการนับจำนวน
- ได้รู้จักการนับและการแยกกลุ่ม การนับนั้นสามารถบอกค่าได้โดยใช้ตัวเลขฮินดูอารบิคกำกับจำนวน,ลำดับการมาก่อนและหลัง
- มากกว่าและน้อยกว่าเป็นพื้นฐานการเปรียบเทียบในการลบ
- การตั้งชื่อกลุ่มนั้นสามารถนำคณิตศาสตร์มาใช้เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มได้ เช่น รูปทรงเรขาคณิต สามเหลี่ยม , สี่เหลี่ยม , วงกลม , หกเหลี่ยม , ห้าเหลี่ยม , วงรี เป็นต้น การเขียนเรียงลำดับและการนับเลข
นั้นจะต้องเรียงจากซ้ายไปขวา ต้องมีจำนวนและตัวเลขกำกับให้เด็กเสมอ เป็นการบูรณาการการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันด้วย
- การออกแบบร่างสื่อนั้นจะต้องเขียนร่างออกแบบก่อน ถ้าสามารถทำได้จริงจึงลงมือทำ จะต้องตั้งวัตถุประสงค์ก่อน เพื่อให้รู้ว่าต้องการอะไรและเวลาทำจะต้องใช้วัสดุอะไรบ้าง ใช้สื่อนี้ได้นานเพียงใดและมากน้อยเพียงใด ควรเป็นของที่ทำให้เด็กได้เรียนรู้และสามารถนำมาใช้ได้ตลอด
- การนำเสนอควรสรุปใจความสำคัญสั้นๆ เข้าใจได้ง่าย  พูดให้เหมาะสมและออกเสียง ร , ล ชัดเจน การนำเสนอวิจัยควรนำชื่อวิจัยมาให้ครบเพื่อให้รู้จักวิจัยได้ชัดเจน การอธิบายต้องกำหนดตัวแปรต้นและตัวแปรตาม  ถ้ามีวิธีการที่อธิบายและไม่เข้าใจควรนำรูปภาพหรือวีดีโอมาเป็นตัวอย่างให้ได้เห็นภาพของการทำวิจัยนั้นได้ละเอียดและเข้าใจมากขึ้น
- ความต้องการของเด็ก คือ พฤติกรรมของเด็ก ผู้ปกครองจะต้องรู้ว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง จะได้สามารถจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเด็กและช่วยกระตุ้นเด็กให้รู้ว่าต้องการอะไร จะต้องรู้พัฒนาการของเด็ก และเลือกวิธีการให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็ก
- การลงมือปฏิบัติของเด็กนั้น คือ วิธีการทำเป็นการลงมือปฏิบัติด้วยการใช้สัมผัสทั้ง 5 เป็นการเรียนรู้ของเด็ก ดังนั้นครูต้องเปลี่ยนจากการสอนด้วยคำพูดเป็นกิจกรรมให้เด็กเพื่อสอดคล้องวิธีการเรียนรู้
- คณิตศาสตร์นั้นสามารถนำไปบูรณาการในศิลปะได้ ไม่ใช่แค่การเรียนตัวเลขอย่างเดียว เช่น กิจกรรมสานเชือก เป็นต้น
- เวลา , การคิดอย่างมีเหตุผล การทำอะไรนั้นต้องประกอบด้วยเวลาและมีเหตุผลในการทำ 
- การจัดประเภทจับคู่ , การตัดสินใจ
- การคาดคะเนปริมาณและการเปรียบเทียบ
- จำนวนนั้นไม่ได้เป็นแค่ตัวเลขสามารถใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์แทนได้
- พัฒนาการจะบ่งบอกความสามารถของเด็กและความสามารถของเด็กจะบอกความต้องการของเด็ก
- รู้จักเพลงคณิตศาสตร์ การสอนร้องเพลงนั้นจะต้องรู้วิธีการสอนที่ถูกวิธี สอนร้องทำนองเพลงให้ถูกต้อง  สามารถออกแบบท่าทางประกอบเพลงและใช้เพลงในการสอนเรื่องต่างๆในชีวิตประจำวันได้

ภาพบทเพลงคณิตศาสตร์ ทั้งหมด 7 เพลงค่ะ  ^^




เพลงที่ 1 เพลงสวัสดียามเช้า


สอนช่วงเวลา ,  การเรียงลำดับเหตุการณ์กิจวัตรประจำวัน

เพลงที่ 2 เพลงสวัสดีคุณครู


การจัดลำดับเหตุการณ์ต่อจากเพลงสวัสดียามเช้า

เพลงที่ 3 เพลง หนึ่งปีมีสิบสองเดือน


ได้รู้จักจำนวนเดือนในหนึ่งปีและจำนวนวันและวันต่างๆในหนึ่งสัปดาห์

เพลงที่ 4 เพลงเข้าแถว


สอนการเข้าแถว
เพลงที่ 5 เพลงจัดแถว


สอนการจัดแถว
เพลงที่ 6 เพลงซ้าย - ขวา


ให้รู้จักซ้ายและขวา

เพลงที่ 7 เพลงขวดห้าใบ


ได้รู้จักการลดจำนวนตามลำดับ

คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์

1. ตัวเลข  คือ จำนวนตัวเลขฮินดูอารบิคและตัวเลขไทย
2. ขนาด   คือ  หนา , บาง , เล็ก , ใหญ่ เป็นต้น
3. รูปร่าง   คือ ทรงกลม , สามเหลี่ยม , สี่เหลี่ยม , วงกลม เป็นต้น
4. ที่ตั้ง   คือ  ตรงนี้ , ตรงนั้น , เหนือ , ใต้ เป็นต้น
5. ค่าของเงิน  คือ บาท , สตางค์ เป็นต้น
6. ความเร็ว  คือ เร็ว - ช้า , ถี่ , คืบคลาน , เฉื่อย เป็นต้น
7. อุณหภูมิ   คือ  หนาว , ร้อน , อบ , ชื้น เป็นต้น

มาตรฐานการวัดในระบบเมดริก

1. คำศัพท์ที่เด็กควรทราบ
2. ระบบเมดริกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
3. การวัดเรื่องเวลา  

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ

- การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
- การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิคและตัวเลขไทย ใช้รูปภาพ สิ่งของ , สั้ตว์ให้เด็กรู้แทนได้ให้เด็กเชื่อมโยงภาพกับตัวเลขนั้นๆได้
- การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิคและตัวเลขไทย
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวน

การรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม

- ความหมายการรวมกลุ่ม คือ การรวมกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10 
- ความหมายการแยกกลุ่ม คือ การแยกกลุ่มจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10

สาระที่ 2 การวัด

- เข้าใจพื้นฐานการวัดความยาว น้ำหนัก , ปริมาตร , เงินและเวลา

สาระที่ 3 เรขาคณิต

- ใช้คำบอกตำแหน่ง , ทิศทางและระยะทาง 
- รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ

ทักษะที่ได้จากการเรียน


1.ทักษะการนับจำนวนและการแยกกลุ่ม
2.ทักษะการบูรณาการการเรียนคณิตศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน
3.ทักษะการเขียนตารางการมาเรียนของเด็ก
4.ทักษะการเรียงลำดับ
5.ทักษะการคิดตอบคำถามจากปัญหาที่อาจารย์ได้ตั้งคำถาม
6.ทักษะการฟังในการเรียน
7.ทักษะในการพูดตอบคำถาม
8.ทักษะการปฏิบัติกิจกรรมให้ตรงตามขอบเขตที่อาจารย์กำหนด
9.ทักษะการออกแบบร่างของสื่อ
10.ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


- รู้จักการนำประสบการณ์ในชีวิตประจำวันมาใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์

- การเขียนตารางการมาเรียนให้ถูกต้องและเหมาะสมกับเด็ก
- นำทักษะที่ได้จากการเรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอนของเด็กได้
- ปฏิบัติกิจกรรมให้อยู่ในขอบเขตที่อาจารย์กำหนด
- ออกแบบร่างสื่อให้ถูกวิธีมีการกำหนดวัตถุประสงค์ก่อนจะทำจริง
- นำเสนอหน้าชั้นเรียนให้เข้าใจ  ออกเสียง ร , ล ให้ชัดเจนและสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้


ประเมินตนเอง


วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ  สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียนได้เข้าใจ  รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์  พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม  ตั้งใจฟัง
เพื่อนๆที่นำเสนอและเข้าใจเนื้อหาของหัวข้อที่เพื่อนนำเสนอ ได้รู้จักการเขียนตารางการมาเรียน และสามารถนำมาสอนให้เด็กรู้จักคณิตศาตร์ได้มากขึ้น ทำให้เข้าใจเนื้อหาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้มากขึ้น


ประเมินเพื่อน


วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ อาจมีบางคนยังทำกิจกรรมพลาดบ้าง แต่ก็พยายามที่แก้ไขให้ถูกต้อง  สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียน  รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์  พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม มีการนำเสนอที่เข้าใจ แต่บางคนอาจมีเนื้อหาไม่ชัดเจนและยังไม่มั่นใจในการนำเสนอ แต่รับฟังคำแนะนำของอาจารย์อยู่เสมอ  มีการคิดตามเนื้อหาระหว่างที่เรียนและช่วยกันตอบคำถามค่ะ



เทคนิคการสอนและประเมินอาจารย์ผู้สอน


อาจารย์มีการนำกิจกรรมมาให้ปฏิบัติก่อนเริ่มเนื้อหาการสอน มีการยกตัวอย่างในการสอนทำให้เข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้ง่าย  และสามารถนำมาปรับใช้ได้ในการเรียนการสอน  อาจารย์ได้ให้คำแนะนำตลอดการเรียนการสอน อธิบายเนื้อหาเรื่องที่เรียนได้ละเอียดและชัดเจน มีการคอยรับฟังคำถามหรือเรื่องที่นักศึกษาสงสัยจากเนื้อหาที่เรียนเมื่อจบการเรียนการสอนของวิชาเสมอ แนะนำการออกแบบร่างสื่อให้ถูกต้องและชัดเจนค่ะ










สรุปบทความ , วิจัย และวีดีโอโทรทัศน์ครูที่นำเสนอในวันนี้



สรุปบทความ เรื่อง เสริมการเรียนเลขให้ลูกวัยอนุบาล ของ น.ส.เกตุวรินทร์  นามวา  เลขที่ 4


1.เข้าใจด้วยระบบสัญลักษณ์ เด็กวัยนี้จะนับเลข 1- 5 ได้ แต่ไม่รู้ถึงจำนวนค่าเท่าไรเด็กจะยังไม่เข้าใจ ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยกันสร้างความเข้าใจแก่เขา โดยการใช้ระบบสัญลักษณ์ (ภาพหรือสิ่งของที่จับต้องได้) แทนตัวเลข เพราะเด็กจะเข้าใจง่ายกว่า
 2. เด็กวัยอนุบาลจะทำกิจกรรมโดยใช้ประสาทสัมผัสตากับมือเป็นหลัก การนับสิ่งของที่มี 2 แถว แถวหนึ่งวางห่างกัน แถวสองวางชิดกัน เขาจะบอกว่าแถวที่วางห่างกันมีจำนวนมากกว่า เพราะยาวกว่า คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยอธิบายให้ลูกฟังอย่างใจเย็นที่สุด
3. ทักษะทางภาษายังต้องสั่งสม  ทักษะทางภาษาเป็นสิ่งสำคัญมากในการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งสำหรับเด็กวัยอนุบาลยังต้องได้รับการกระตุ้นเรื่องการสื่อสาร เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาที่ดีขึ้น อันจะส่งผลให้เขาสามารถตั้งคำถามและอธิบายเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนได้ เช่น มีของอยู่ 3 ชิ้น คุณแม่ให้เพิ่มอีก 2 ชิ้น หากเขามีทักษะทางภาษาที่ดีเขาจะต้องเข้าใจคำว่า “เพิ่ม” คืออะไร และจะนำมาซึ่งกระบวนการคิดและตอบคำถามอย่างถูกต้อง

กระบวนการคิดและคณิตวัยอนุบาล


การเรียนคณิตศาสตร์ของวัยอนุบาลคือ คุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจในพัฒนาการของช่วงวัยไม่ควรคาดหวังสูงเพราะคณิตศาสตร์คือทักษะที่ต้องทำซ้ำ ทำบ่อย หมั่นทบทวนอยู่ตลอดเวลาจึงเป็นไปได้อยากที่ครั้งแรกจะถูกเสมอไป ไม่โมโห ดุด่าเพราะสาเหตุที่ทำไม่ได้ดังใจฉะนั้นการจะให้ลูกตอบได้ในครั้งเดียวนั้นถือเป็นการคาดหวังที่สูงมาก การพัฒนาเรื่องกระบวนการคิดของเด็ก จึงเป็นแนวทางในการช่วยส่งเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ของลูกได้เป็นอย่างดีและแนวทางที่สำคัญอีกทางคือ ครอบครัว สรุปบทความ , วิจัย และวีดีโอโทรทัศน์ครูที่นำเสนอในวันนี้







สรุปวิจัยเรื่องการจัดประสบการณ์อาหารพื้นบ้านอีสาน ของ น.ส.จิรญา พัวโสภิต เลขที่ 5

ทำการทดลองกับเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2  โรงเรียนโลกเต็นวิทยาคม

กระบวนการเรียนรู้ในการทำกิจกรรมเรื่องของคณิตศาสตร์

1. ด้านการเปรียบเทียบ
2. ด้านการจัดหมวดหมู่
3. ด้านการเรียงลำดับ
4. ด้านการรู้ค่าจำนวน

ระยะเวลาการทดลอง

ระยะที่ 1 
- ขั้นเตรียมก่อนการประกอบอาหาร การนำเข้าสู่กิจกรรมโดยใช้สื่อจริง เพลง คำคล้องจอง รูปภาพ เพื่อกระตุ้นความสนใจของเด็ก
ระยะที่ 2 
- ขั้นจัดประสบการณ์ประกอบอาหาร  ให้เด็กเข้ากลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง  โดยที่เด็กได้เปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ ผ่านการประกอบอาหาร
ระยะที่ 3 
- ขั้นสรุป เป็นการสนทนาพูดคุยโดยใช้คำถามปลายเปิดเกี่ยวกับลักษณะวัตถุดิบที่ใช้ประกอบอาหาร และให้วาดภาพแสดงผลงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน

สิ่งที่เด็กได้รับ

1. เรียนรู้เกี่ยวกับโภชนาการ และอาหารหมูาต่างๆ
2. รู้จักคำนวณ เช่น การวัด การกะ ปริมาณ
3. พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ การประสานสัมพันธ์ตากับมือ
4. ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การสังเกต การชิมรส การดมกลิ่น การฟัง และการสัมผัส
5. รู้จักทำงานเป็นกลุ่ม






สรุปวีดีโอโทรทัศน์ครู ของ น.ส.บงกช  เพ่งหาทรัพย์  เลขที่ 6

สอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยด้วยนิทาน (มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา)

ด้วยความมุ่งหวังที่จะสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย จำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ในแง่มุมใหม่ๆ ที่ไม่ใช่แค่การนับจำนวนและการท่องจำ อ.ธิดารัตน์จึงมุ่งเน้นการสอนนักศึกษาให้เน้นการนำกิจกรรมไปสอนและปลูกฝังความรักคณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆ โดยเฉพาะการใช้ "นิทาน"เป็นสื่อช่วยสอน เพราะเด็กปฐมวัยทุกคนชอบนิทานอยู่แล้ว ถ้าครูนำนิทานมาบูรณาการสอนเด็กๆจะทำให้เข้ารู้สึกสนุกและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่อไป โดยการเล่านิทานลูกหมู 3 ตัวเด็กจะได้ทราบถึงการเปรียบเทียบขนาด น้ำหนัก และขนาด




วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

การเรียนรู้ครั้งที่ 3 วันพุธที่ 20 มกราคม เวลา 8.30.น. - 12.30 น.




บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้


วันนี้อาจารย์และนักศึกษามากันตรงเวลาแต่อาจมีบางคนที่มาสาย  ทำให้เริ่มเรียนกันอย่างตั้งใจ อาจารย์ได้แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น แต่มีความรู้สึกตื่นเต้นกันเหมือนเดิมว่าอาจารย์จะให้ทำกิจกรรมอะไรต่อ  เมื่ออาจารย์เริ่มกิจกรรม ทุกคนจะตั้งใจฟังปฏิบัติตามอาจารย์ และร่วมแสดงความคิดเห็น  มีความสนใจในการเรียนและการทำกิจกรรมตลอด เป็นอีกวันที่มีบรรยากาศในการเรียนที่ดีค่ะ


เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ


เรื่องที่เรียน

- การแบ่งกระดาษ 4 ส่วน ในแนวต่างๆให้เท่ากันและการฉีกกระดาษด้วยมือเปล่า
- ประสบการณ์จากการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
- วิธีการใช้คณิตศาสตร์ในหลากหลายวิธี
- การคิดหลากหลาย , การปรับตัว และการแก้ไขปัญหาของตนเองตามสถานการณ์ต่างๆ
- การตระหนักถึงการเป็นครูที่ดี
- คำขวัญวันครู
- การมีเป้าหมายในการใช้ชีวิตประจำวัน
- การออกแบบการวางตัวหนังสือ , จังหวะในการออกแบบและการเขียน
- การปฏิบัติกิจกรรมให้ตรงตามขอบเขตที่อาจารย์กำหนด
- การมีคุณธรรมในการเป็นครู
- วิธีการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์ , สาระมาตรฐานการเรียนรู้และคุณภาพของเด็กเมื่อจบการเรียนรู้

ความรู้ที่ได้รับ

- ได้รู้วิธีการแบ่งกระดาษในแนวต่างๆ ทั้งแนวตั้ง , แนวนอน ให้ได้ 4 ส่วนและเท่ากัน และครูต้องสามารถฉีกกระดาษได้ด้วยมือเปล่าอย่างสวยงาม เมื่อนับกระดาษไปแปะรวมกันบนกระดาน ในการนับกระดาษนั้นถ้าอยากนับให้ง่ายต้องวางให้เป็นแถวและเป็นระเบียบ  ในการทำกิจกรรมนั้นควรมีหลากหลายวิธีในการทำเพราะจะเป็นประสบการณ์สำคัญในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และนำไปใช้ชีวิตประจำวันได้
- รู้จักการคิดหลายทาง , การปรับตัวและการแก้ไขปัญหาควรมีหลากหลายเส้นทางเหมือนคณิตศาสตร์ ควรมีหลากหลายวิธีในการเรียน คิดในรูปแบบใหม่อยู่เสมอ
- ได้รู้ว่าการสอนเด็กนั้น ครูต้องตระหนักถึงความเป็นครูที่ดีเสมอ เป็นครูที่มีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นการสร้างแรงบันดาลใจและต้องเตรียมตัวให้มีคุณภาพ มีการเตรียมพร้อมทั้งกายและใจ มีความเชื่อมั่นในวิชาชีพครู
- การใช้ชีวิตประจำวันนั้นควรตั้งเป้่าหมายไว้เสมอ ว่าควรดำเนินชีวิตไปในทางแบบใดให้มีคุณภาพ
- รู้ว่าการเป็นครูนั้นควรนึกถึงคำขวัญวันครูเสมอ คือ " อนาคตก้าวไกล  ด้วยครูดีมีคุณภาพ "
- รู้จักการออกแบบการวางตัวหนังสือให้เหมาะสมกับพื้นที่ในกระดาษ  รู้จักจังหวะในการออกแบบ ต้องรู้ว่าบางจังหวะต้องมีอิสระ บางจังหวะต้องมีระเบียบวินัย การเขียนนั้นต้องเขียนจากซ้ายไปขวา และในการคาดการณ์ของตนเองในการทำควรอยู่ในขอบเขตที่กำหนด
- การนำเสนอหน้าชั้นเรียนควรอธิบายให้ชัดเจนและจับใจความสำคัญว่าใคร ,ทำอะไรและอย่างไร ให้เข้าใจและไม่ควรอธิบายเร็วเกินไป ควรมีการยกตัวอย่างและวิธีการที่สามารถเข้าใจได้ละเอียด
- ได้รู้ว่าการที่เด็กชอบทำอะไรนั้นเพราะเด็กมีวิธีการ รูปแบบนั้นโดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กับวัตถุในการเรียนรู้ และจังเป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
- ได้รู้ว่าเด็กปฐมวัยเรียนคณิตศตร์เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆทางคณิตศาสตร์ เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา อนุบาลนั้นจะเป็นการเตรียมความพร้อมทางประสบการณ์วิชาคณิตศาสตร์

สาระมาตรฐานการเรียนรู้


1. จำนวนการดำนเนินการ
2. การวัด
3. เรขาคณิต
4. พีชคณิต
5. การคิดวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6. ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

คุณภาพของเด็กเมื่อจบการเรียนรู้ 

1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ ( Mathematical Thinking )

- จำนวน 1 - 20 เด็กรู้จักจำนวนตัวเลข
- เข้าใจหลักการนับ เวลานับต้องนับเพิ่มขึ้นหรือลดลง
- รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิคและตัวเลขไทย
- รู้ค่าของจำนวน
- เปรียบเทียบและเรียงลำดับ
- การรวมและการแยกกลุ่ม การรวมจะเป็นการบวกส่วนการแยกกลุ่มจะเป็นการลบ
2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานความยาว , น้ำหนัก , ปริมาตร , เงินและเวลา
- รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
- เปรียบเทียบเรียงลำดับ  วัดความยาว , น้ำหนัก , ปริมาตร
- เข้าใจเวลาและคำที่ใช้บอกเวลา
3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเรขาคณิต
- ตำแหน่ง , ทิศทางและระยะทาง
- รูปทรงเรขาคณิต มิติและรูปเรขาคณิต มิติ
4. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานแบบรูปของรูปที่มีรูปร่างขนาดสีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล  นำเสนอข้อมูลรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
6. มีทักษะกระบวนการคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

ทักษะที่ได้จากการเรียน


1.ทักษะการคิดการแบ่งกระดาษด้วยหลากหลายวิธี และการแบ่งให้เท่ากัน
2.ทักษะการนำประสบการณ์จากการใช้ชีวิตประจำวันมาใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์
3.ทักษะการเขียนเพื่อสรุปการเรียนรู้
4.ทักษะการหาเป้าหมายในชีวิตของตนเอง
5.ทักษะการคิดตอบคำถามจากปัญหาที่อาจารย์ได้ตั้งคำถาม
6.ทักษะการฟังในการเรียน
7.ทักษะในการพูดตอบคำถาม
8.ทักษะการปฏิบัติกิจกรรมให้ตรงตามขอบเขตที่อาจารย์กำหนด
9.ทักษะการค้นหาคำตอบด้วยวิธีใหม่ๆ
10.ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


- รู้จักการนำประสบการณ์ในชีวิตประจำวันมาใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์
- มีการกำหนดเป้าในชีวิตของตนเอง
- ปฏิบัติกิจกรรมให้อยู่ในขอบเขตที่อาจารย์กำหนด
- ตระหนักถึงการเป็นครูที่ดี ควรมีคุณธรรม จริยธรรมและมีการเตรียมความพร้อมและทำให้ตนเองมีคุณภาพในการเป็นครู เชื่อมั่นในวิชาชีพ
- นำเสนอหน้าชั้นเรียนให้เข้าใจได้ชัดเจนและสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้


ประเมินตนเอง


วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ  สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียนได้เข้าใจ  รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์  พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม ทำกิจกรรมการแบ่งกระดาษได้ดีแต่อาจออกแบบการเขียนในกระดาษไม่เหมาะสมกับพื้นที่ แต่ได้นำไปปรับปรุงแก้ไขให้ออกมาพอดีกับพื้นที่แล้วค่ะ การนำเสนอหน้าชั้นเรียนวันนี้ได้นำเสนอเป็นคนแรก ทำให้ผิดพลาดไปบ้างในการอธิบาย แต่อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและคิดว่าจะนำไปปรับปรุงในการนำเสนอครั้งต่อไปได้ค่ะ  สามารถเข้าใจวิชานี้ได้มากขึ้นเพราะได้รู้ว่าเด็กปฐมวัยจะเรียนอะไรในคณิตศาสตร์บ้าง  รู้จักการเรียนวิชานี้มากขึ้นเรื่อยๆค่ะว่าต้องเรียนเกี่ยวกับอะไร


ประเมินเพื่อน


วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ อาจมีบางคนยังทำกิจกรรมพลาดบ้าง แต่ก็พยายามที่แก้ไขให้ถูกต้อง  สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียน  รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์  พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม  มีการคิดตามเนื้อหาระหว่างที่เรียนและช่วยกันตอบคำถามค่ะ


เทคนิคการสอนและประเมินอาจารย์ผู้สอน


อาจารย์มีการนำกิจกรรมมาให้ปฏิบัติก่อนเริ่มเนื้อหาการสอนโดยให้นักศึกษาแบ่งกระดาษให้ได้ 4 ส่วนเท่าๆ กันและให้มีวิธีการแบ่งที่หลากหลาย และสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการเป็นครูว่าควรตระหนักถึงการเป็นครูที่ดีและมีคุณภาพ  ควรเตรียมความพร้อมทั้งกายและใจ มีความเชื่อมั่นในวิชาชีพ ทำให้รู้สึกมีแรงบันดาลใจในการเรียนมากขึ้น อาจารย์ได้ให้คำแนะนำตลอดการเรียนการสอน อธิบายเนื้อหาเรื่องที่เรียนได้ละเอียดและชัดเจน มีการยกตัวอย่างในเนื้อหาที่เรียนทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น คอยรับฟังคำถามหรือเรื่องที่นักศึกษาสงสัยจากเนื้อหาที่เรียนเมื่อจบการเรียนการสอนของวิชาเสมอ








สรุปบทความ , วิจัย และวีดีโอโทรทัศน์ครูที่นำเสนอในวันนี้


บทความเรื่อง เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์ของ น.ส.ไพจิตร  ฉันทเกษมคุณ เลขที่ 1


           การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก  ได้แก่  จำนวนและการดำเนินการ  จำนวน การรวมกลุ่ม  และการแยกกลุ่ม  การวัด  ความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร เงิน  และเวลา  เรขาคณิต ตำแหน่ง  ทิศทาง  ระยะทาง  รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก ต้องคำนึงถึงขั้นตอนการเรียนรู้ของเด็ก ได้แก่ ทบทวบความรู้พื้นฐาน  สอนเนื้อหาใหม่  สรุปสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์  ฝึกทักษะหรือฝึกปฏิบัติ  นำความรู้ไปใช้     วัดและประเมินผล  การเรียนรู้โดยให้เด็กมีส่วนร่วมรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ  ควรคำนึงถึงความสนใจและความแตกต่างของเด็กแต่ละคน  นอกจากนั้น เทคนิคการจูงใจให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์อีกอย่าง คือ ให้เด็กได้เรียนรู้และค้นพบสิ่งท้าทาย ด้วยกิจกรรมและเกมที่ช่วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมสนุกพร้อมสอดแทรกเนื้อหาความรู้เข้าไป







วิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้จากการสาน ของ น.ส.ภาวิดา บุญช่วย เลขที่ 2

 โดยมีขั้นตอนดังนี้

 1. ทำการประเมินทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กก่อนทำการทดลองจากนั้นทำมาตรวจคะแนนตามเกณฑ์และเก็บคะแนนเป็นหลักฐาน
2.ดำเนินการทดลองในกิจกรรมการสาน 8 สัปดาห์ 4 วัน จำนาน 32 ครั้ง วันละ 30-50 นาที
3.เมื่อสิ้นสุดการทดลองผุ้วิจัยประเมินทักษะพื้นฐานชองเ็กหลังการทดลอง

การสังเกตที่ได้รับจากการวิจัย

-สัปดาห์แรกเด็กต้องการการปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมจากการทำกิจกรรมสาน แต่เป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่ จึงต้องใช้เวลา ในการอธิบายวิธีการทำ
-ขณะที่ทำกิจกรรมเด็กมีความสนใจและกระตือรือร้นมาก
-เด็กเรียนรู้สื่อใหม่และอุปกรณ์ที่หลากหลาย
- กิจกรรมการสานทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสพื้นฐานตร์ได้ด้วยตนเอง และมีพัฒนาการด้านอื่นอีกด้วย เช้น ได้ใช้กล้ามเนื้อมือ และตาสัมพัธ์กัน

สรุปผล

1.ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมหลังทำกอจกรรมสานสูงกว่าก่อนทำกิจกรรม
2.เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อนทำการทดลองโดยรวมและรานด้านทุกด้าน พอใช้ แต่หลังจัดกิจกรรมสานเด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านทุกด้าน ในระดับดี







วีดีโอโทรทัศน์ครู เรื่องสาระความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมคณิตปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัว  ของ น.ส. สิริกัลยา  บุญทนแสนทวีสุข เลขที่ 3

มี 6 กิจกรรม

1. กิจกรรม : ปูมีขา  เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กรู้ว่าปูมีขา 8 ขา และก้ามปูอีก 2 ก้าม ซึ่งให้เด็กเปรียบเทียบ เรียนรู้จากการนับนิ้วมือ  ให้มิือเป็นเหมือนขาของปู
2. กิจกรรม : ต้นไม้ใกล้ตัว  พาเด็กไปเรียนที่ใต้ต้นไม้ นอกห้องเรียน ซึ่งจะนำใบไม้ร่วงมาเปรียบเทียบ มานับจำนวน มากกว่าน้อยกว่า โดยที่ครูจะเป็นคนกำหนดโจทย์ให้ 
3. กิจกรรม : ใบไม้แสนสวย  เช่น การจัดกิจกรรมจากการร้อยใบไม้ เริ่มจากใบไม้กลม หยัก เหลี่ยม รี หรือกิจกรรมการพิมพ์ภาพจากใบไม้ให้เท่าจำนวนตัวเลขที่ครูกำหนดมาให้ หรือกิจกรรมการฉีกปะใบไม้ ลงในตัวเลขที่ครูพิมพ์ไว้ให้ โดยให้เด็กเลือกเองตามใจชอบ 
4. กิจกรรม : มุมคณิต  การนำสิ่งต่าง ๆ ในครัวเรือน เช่น พืชผัก ไข่ เมล็ดพืช  ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กรู้จักและคุ้นเคย โดยมีบัตรภาพที่กำหนดตัวเลขไว้ ให้เด็กเลือกสิ่งใดก็ได้ มาวางให้ตรงกับจำนวนในบัตรเลขนั้น
5. กิจกรรม : เกมกระต่ายเก็บของ  เป็นการเก็บของโดยการจัดอันดับ 5 สิ่ง คือ ก้อนหิน ไม้บล็อก ตะกร้า โดยวิ่งไปเก็บของตามลำดับใส่ตะกร้าให้ครบ ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ได้
6. กิจกรรม : เกมก้อนหินหรรษา  เป็นการนำก้อนหิน 2 สี คือ สีขาวกับสีแดง มาเรียงตามจำนวนในบัตรภาพหรือบัตรตัวเลข

ประโยชน์จากการทำกิจกรรม

ทำให้เด็กเรียนรู้การใช้เงิน รู้จักเบอร์โทรศัพท์ของผู้ปกครอง ป้ายทะเบียนรถ ตัวเลขต่าง ๆ เป็นต้น ที่สำคัญคือ เด็กมีความสุขในการทำกิจกรรมและการเรียนรู้




วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559

           สรุปบทความ  



บทความเรื่องเด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์




จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

นางเชอรี่  อยู่ดี  หัวหน้าสาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. ผู้เขียน


            คณิตศาสตร์สามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและสิ่งต่างๆ รอบตัว  การที่เด็กมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญทั้งในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต  การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก  ได้แก่  จำนวนและการดำเนินการ  จำนวน การรวมกลุ่ม  และการแยกกลุ่ม  การวัด  ความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร เงิน  และเวลา  เรขาคณิต ตำแหน่ง  ทิศทาง  ระยะทาง  รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก ต้องคำนึงถึงขั้นตอนการเรียนรู้ของเด็ก ได้แก่ ทบทวบความรู้พื้นฐาน  สอนเนื้อหาใหม่  สรุปสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์  ฝึกทักษะหรือฝึกปฏิบัติ  นำความรู้ไปใช้     วัดและประเมินผล   ตัวอย่างรูปแบบของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยที่น่าสนใจ อาทิ  การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง  การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้  การเรียนรู้จากการใช้คำถาม เป็นต้น  ครูผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจ เกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้และสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์  ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ครูต้องยึดเด็กเป็นสำคัญ กล่าวคือ การเรียนรู้โดยให้เด็กมีส่วนร่วมรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ  ควรคำนึงถึงความสนใจและความแตกต่างของเด็กแต่ละคน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้จึงควรหลากหลาย อาจจัดให้ทำกิจกรรมร่วมกันทั้งชั้น ทำในกลุ่มย่อย ทำเป็นรายบุคคล สถานที่ควรมีทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน บริเวณโรงเรียน และศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนหรือในท้องถิ่น  นอกจากนั้น เทคนิคการจูงใจให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์อีกอย่าง คือ ให้เด็กได้เรียนรู้และค้นพบสิ่งท้าทาย ด้วยกิจกรรมและเกมที่ช่วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมสนุกพร้อมสอดแทรกเนื้อหาความรู้เข้าไป

แหล่งที่มา : http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/teacher/9335

            สรุปโทรทัศน์ครู  



เรื่องคณิตศาสตร์ ระดับ ปฐมวัย : การแทนค่า

จากโรงเรียนสปริงฟิลด์ เจอร์ชี


               การสอนการแทนค่าให้กับเด็กอนุบาล 2 ครูประจำชั้น คือ ครูลินดา  ครอฟอร์ดและครูผู้ช่วย รีเบกกา ฮอสกิง  ในการสอนการแทนค่านั้นครูจะใช้โต๊ะคณิตศาสตร์และการเดินทางจากโต๊ะสิ่งของเพื่อให้เห็นภาพการคำนวณหรือเรื่องราวของคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีย้ายถ้วยระหว่างโต๊ะสิ่งของกับโต๊ะคณิตศาสตร์ ในการเรียนครูจะให้ออกมาเป็นผู้ช่วยเพื่อให้เด็กได้สัมผัสคณิตศาสตร์เพื่อเข้าใจแนวคิดและรู้วิธีใช้  ครูจะเขียนเรื่องของคณิตศาสตร์และให้เด็กเป็นผู้แสดงให้ดู โดยให้เด็กย้ายถ้วยจากโต๊ะสิ่งของมาโต๊ะคณิตศาสตร์เอง และครูจะเขียนตัวเลขบนกระดานเป็นการบวกลบและให้เด็กนำถ้วยมาวางคำตอบ ผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าวว่า " นักเรียนต้องเรียนรู้และได้รับการปูพื้นฐานความเข้าใจแนวคิดคณิตศาสตร์ "  นอกจากนั้นยังนำการ์ดมาเขียนจำนวนตัวเลขและนำมาวางต่อกัน โดยให้เด็กคิดคำตอบด้วยตนเองเด็กก็จะสามารถตอบคำถามนั้นได้โดยการมองตัวเลขบนการ์ด  วิธีนี้ทำให้เด็กมีความมั่นใจมากขึ้น สนุกกับคณิตศาสตร์และครูก็สนุกกับการสอนด้วยเช่นกัน เด็กมีทักษะทางคณิตศาสตร์มากขึ้นจากการใช้วิธีนี้ เมื่อเด็กมีทักษะและความเข้าใจแล้ว จะทำให้รู้สึกมั่นใจและสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น

แหล่งที่มา : http://www.thaiteachers.tv/vdo2.php?id=826



      สรุปวิจัย    



เรื่องทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่

ปริญญานิพนธ์ ของ กมลรัตน์ กมลสุทธ


                 ผลการศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ ตามแนวมอนเตสซอรี่ในด้านการจ าแนก การเรียงล าดับ และการนับ ผลการวิจัยพบว่า ทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่อยู่ในระดับดี ทัักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนว มอนเตสซอรี่โดยรวมประกอบด้วยด้านการจำแนก ด้านการเรียงลำดับและด้านการนับหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น ทั้งนี้เพราะการ จัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ได้โดยเด็กเรียนรู้การใช้สื่ออุปกรณ์การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ เด็กเลือกงานด้วยใจ อิสระ จะปฏิบัติงานที่มุมใดของห้อง ปฏิบัติงานด้วยจังหวะช้าเร็วของตนเอง เด็กเป็นตัวของตัวเอง อิสระและผ่อนคลาย สนุกสนานเพลิดเพลิน มีสมาธิในการปฏิบัติงานและได้ฝึกทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ทำให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์  เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้เป็นรายบุคคล เด็กได้ฝึกสัมผัสวัสดุอุปกรณ์ที่เตรียมไว้เป็น รายบุคคลโดยได้รับคำแนะนำการใช้ก่อนแล้วจากนั้นเด็กเลือกทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเองเป็น การฝึกการคิดริเริ่ม ความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง การลงมือปฏิบัติสื่ออุปกรณ์การเรียนของ มอนเตสซอรี่จะเปิดโอกาสให้เด็กฝึกปฏิบัติ ลองผิด ลองถูก ไม่กลัวผิด กล้าเสี่ยงและเมื่อเด็กทำได้เด็ก จะรู้สึกพอใจและภูมิใจในผลงานของตนเอง  กิจกรรมในกลุ่ม ประสาทรับรู้เป็นการฝึกฝนตามระบบคำสั่ง ปฏิบัติตามขั้นตอน สังเกต ทดลอง จำแนก ค้นหาความ แตกต่าง การจับคู่ การจัดลำดับ การหาความหลากหลายและเรียนรู้ภาษาของคณิตศาสตร์ อุปกรณ์ หลายชุดในกลุ่มประสาทรับรู้ถูกผลิตขึ้นมาให้มีจ านวนเพียง 10 ชิ้น ทั้งนี้เพื่อให้เด็กมีโอกาสสำรวจ และมีประสบการณ์เกี่ยวกับระบบเลขฐานสิบ เด็กเห็นความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุรูปทรงเรขาคณิตทรง ทึบและรูปทรงเรขาคณิต เด็กได้พัฒนาการทางสม องโดยผ่านการมองสิ่งต่างๆ เหล่านี้ เด็กสามารถ จัดระบบได้จากความยุ่งยากซับซ้อน ความสามารถด้านนี้เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อใช้ในการแก้ปญหาเชิงคณิตศาสตร์

แหล่งที่มา : http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Kamolrat_K.pdf

การเรียนรู้ครั้งที่ 2 วันพุธที่ 13 มกราคม เวลา 8.30.น. - 12.30 น.



บรรยากาศในห้องเรียนในวันนี้


วันนี้มีบรรยากาศที่เพื่อนๆในห้องดูสนใจในการเรียนมากขึ้น  เพราะได้รู้รายละเอียดเกี่ยวกับวิชานี้ไปบ้างแล้ว  ทำให้รู้สึกว่าจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องอะไร  อาจารย์ได้แจกกระดาษให้เหมือนเดิมโดยแบ่งกัน ก็เริ่มมีความตื่นเต้นว่าอาจารย์จะให้ทำอะไร  ในขณะอาจารย์ตั้งคำถาม ทุกคนจะตั้งใจฟังกันและร่วมแสดงความคิดเห็นกันอย่างตั้งใจ   และให้ความสนใจกับเรื่องที่อาจารย์กำลังสอน  และเมื่อมีคำถามหรือสงสัยอะไรจากเรื่องที่อาจารย์สอน เพื่อนๆ จะถามอาจารย์และทำให้เข้าใจมากขึ้น โดยรวมแล้วมีบรรยากาศในห้องเรียนที่ดีสำหรับการเรียนในวันนี้ค่ะ

เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ


เรื่องที่เรียน

- การคิดคำนวณ  การใช้คณิตศาสตร์ในการดำเนินชีวิตประจำวันว่าควรปรับใช้ได้อย่างไร
- เรื่องการคิดเป็นเหตุเป็นผลในการใช้ชัีวิตประจำวัน
- ความหมายของคณิตศาสตร์ , ปฐมวัยและการจัดประสบการณ์
- องค์ประกอบต่างๆของคณิตศาสตร์ , ปฐมวัยและการจัดประสบการณ์
- คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
- เด็กอนุบาลควรรู้อะไรในวิชาคณิตศาสตร์
- ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

ความรู้ที่ได้รับ

- ได้รู้ว่าการที่จะทำอะไรนั้นควรมีเหตุผลที่ดีในการทำ และรู้ว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นประโยชน์มากน้อยเพียงใด สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร  และมีผลกระทบที่ทำให้ตนเองเดือดร้อนหรือผิดพลาดหรือไม่  รู้ว่าควรรู้ว่าสิ่งที่ทำนั้นจำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากเพียงใด รู้จักการนำคณิตศาสตร์มาใช้ในการใช้ชีวิตประจำวัน วันนี้อาจารย์ได้แจกกระดาษให้คนละแผ่น โดยส่งต่อไปจนครบทุกคน ทำให้รู้ว่าสามารถนำคณิตศาสตร์มาใช้ในการแจกกระดาษได้  ได้รู้ว่าการแจกกระดาษนั้นสามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้หลายอย่าง คือ เรื่องจำนวน , คิดแบบเหตุผล , การลบ , การจำแนก , การคิดวิเคราะห์แจกแจง , การเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่าและการคิดคำนวณให้พอดี  ได้รู้ว่าคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันมีหลายอย่าง คือ เงิน , การทำอาหาร , การเก็บภาษี , เวลา , น้ำหนักและส่วนสูง , วัน/เดือน/ปี , รายรับรายจ่าย , การสร้างบ้าน , แจกกระดาษหรือแจกสิ่งของต่างๆ , การซื้อหุ้นต่างประเทศ  รู้ความหมายของคณิตศาสตร์ ว่าเป็นเครื่องมือเหมือนภาษาในชีวิตประจำวันในการคำนวณในชีวิตประจำวันและเป็นการคิดคำนวณ  เป็นองค์ประกอบในชีวิตประจำวัน  ได้รู้ว่าเด็กอนุบาลควรรู้เรื่อง เงิน , เวลา , น้ำหนักและส่วนสูง , วัน/เดือน/ปี , รูปทรงเรขาคณิต เป็นต้น  ต่อมาอาจารย์ได้ให้แบ่งเป็น 3 ส่วน ด้วยสายตาใช้การแบ่งให้ดูสวยงามและเหมาะสมต่อการทำมายแมพ เรื่อง การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยมี 3 หัวข้อ คือ การจัดประสบการณ์ , คณิตศาสตร์ , เด็กปฐมวัย ได้รู้ว่าแต่ละหัวข้อนั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง 1. การจัดประสบการณ์ ประกอบด้วย หลักสูตร , หลักการ , แนวทาง , แผนการจัดประสบการณ์ , สื่อและการจัดประสบการณ์โดยผู้ปกครอง  2. คณิตศาสตร์ ประกอบด้วย ความหมาย , ความสำคัญ , สาระเนื้อหา , ทักษะและประโยชน์  3. เด็กปฐมวัย ประกอบด้วย ความหมาย , พัฒนาการ , การเรียนรู้ของเด็กโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ

ทักษะที่ได้จากการเรียน


1.ทักษะการคิดคำนวณ
2.ทักษะการวิเคราะห์แบบเป็นเหตุเป็นผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
3.ทักษะการเขียนเพื่อสรุปการเรียนรู้
4.ทักษะการรู้จักนำคณิตศาสตร์มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันให้เหมาะสม
5.ทักษะการคิดตอบคำถามจากปัญหาที่อาจารย์ได้ตั้งคำถาม
6.ทักษะการฟังในการเรียน
7.ทักษะในการพูดตอบคำถาม
8.ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
9.ทักษะการค้นหาคำตอบด้วยวิธีใหม่ๆ
10.ทักษะการคิดวิเคราะห์แจกแจง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

- เมื่อทำอะไรรู้จักการคิดแบบมีเหตุมีผลและรู้ว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นประโยชน์และโทษต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือไม่
- สามารถนำความรู้การคิดคำนวณไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
- สามารถแก้ปัญหาได้ดีและเร็วมากขึ้น
- คิดแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่น
- เขียนสรุปเรื่องที่เรียนได้เข้าใจ
- รู้จักคิดในการตอบคำถาม
- สังเกตและสนใจความรู้และเรื่องที่เป็นประโยชน์ในการเรียน

ประเมินตนเอง


วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ  สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียนได้เข้าใจ  รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์  พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม  สามารถเข้าใจวิชานี้ได้มากขึ้นเพราะได้ทำมายแมพที่ละเอียดทำให้รู้ความหมายและองค์ประกอบต่างๆ ของวิชานี้ได้ดีขึ้นค่ะ

ประเมินเพื่อน


เพื่อนๆ ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและคอยทำตามที่อาจารย์มอบหมายให้ทำอย่างตั้งใจ  ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้วยกัน  พยายามคิดคำตอบในการตอบคำถามอยู่เสมอ  เพื่อนๆสามารถตอบคำถามได้ตรงตามที่อาจารย์ถาม   ช่วยกันแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน  ตั้งใจฟังและจดบันทึกในระหว่างการเรียน  เมื่อมีคำถามก็จะถามอาจารย์  เพื่อนๆให้ความสนใจในการเรียนมากขึ้นค่ะ


เทคนิคการสอนและประเมินอาจารย์ผู้สอน


อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดีต่อการเรียนเพราะอาจารย์สอนการใช้ชีวิตในประจำวันด้วยว่าควรมีการคิดแบบมีเหตุผลในการทำอะไร ให้รู้ว่าสิ่งที่ทำนั้นมีประโยชน์มากน้อยเพียงใด ทำให้สามารถเข้าใจและนำมาปรับใช้ได้ มีคำถามที่ทำให้นักศึกษาได้คิดอยู่ตลอดการเรียน และมีคำถามทุกครั้งในการขึ้นหัวข้อเนื้อหาใหม่ ทำให้รู้ความคิดเห็นของเพื่อนๆ และได้รับความรู้เพิ่มขึ้นด้วย อาจารย์จะสอนโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมอยู่เสมอ มีมายแมพให้นักศึกษา ทำให้เข้าใจเนื้อหาเกี่ยวกับวิชานี้ได้ง่ายและได้รับความรู้ที่มากขึ้น เพราะอาจารย์บอกหัวข้อได้อย่างละเอียด และให้คำตอบที่ชัดเจน เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาการเรียนได้ง่าย ในการสอนอาจารย์อธิบายเนื้อหาเรื่องที่เรียนได้อย่างละเอียด มีตัวอย่างในการสอนที่ดีและคอยให้คำแนะนำและรับฟังคำถามของนักศึกษา




วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559

การเรียนรู้ครั้งที่ 1 วันพุธที่ 6 มกราคม เวลา 8.30.น. - 12.30 น.




บรรยากาศในห้องเรียนในวันนี้


วันนี้เป็นวันแรกของการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  เมื่ออาจารย์เข้ามาจะยังไม่คุ้นเคยกับอาจารย์เพราะได้เรียนกับอาจารย์ในครั้งแรก  จึงทำให้มีบรรยากาศที่เงียบแต่เมื่ออาจารย์ได้มีกิจกรรมมาให้ทำก็เริ่มมีบรรยากาศที่สนุกสนาน และน่าตื่นเต้นเพราะอาจารย์ให้นักศึกษาแนะนำคุณลักษณะและบุคลิกภาพของตนเองให้ชัดเจนและเป็นตัวเองมากที่สุด เพื่อให้อาจารย์ได้อ่านและสามารถรู้ว่านักศึกษาแต่ละคนมีชื่อว่าอะไรและลักษณะอย่างไร  ระหว่างการเรียนก็มีบรรยากาศที่สนุกสนาน เพลิดเพลินกับการเรียนมากขึ้น  ขณะที่อาจารย์สอนเพื่อนๆจะตั้งใจฟังกัน ไม่คุยกัน แล้วเมื่ออาจารย์ให้ตอบคำถามเพื่อนๆก็จะร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างตั้งใจและสนใจกับคำถามของอาจารย์เมื่อมีกิจกรรมในการเรียนเพื่อนๆจะให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกันอย่างตั้งใจ และเมื่อมีคำถามหรือสงสัยอะไรจากเรื่องที่อาจารย์สอนเพื่อนๆ จะถามอาจารย์และทำให้เข้าใจมากขึ้น โดยรวมแล้วในการเรียนวันนี้ได้ทั้งความรู้และความสนุกนานในการเรียน

เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ


เรื่องที่เรียน

-  การคิดคำนวณ  การใช้คณิตศาสตร์ในการดำเนินชีวิตประจำวันว่าควรปรับใช้ได้อย่างไร ได้รู้จักการแบ่งกระดาษให้พอดีกับจำนวนคนโดยไม่มีปัญหา
-  วิธีการทำบล็อก การนำเสนอบทความ  วิจัย และโทรทัศน์ครูของการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ความรู้ที่ได้รับ

-  ได้รับความรู้เรื่องการวิชาการจัดประการณ์คณิตศาสตร์มากขึ้น และได้รู้จักการคิดในการแบ่งกระดาษกับเพื่อนๆ โดยอาจารย์ให้กระดาษมา 1 แผ่น และให้แบ่ง 3 คนให้ได้ อาจารย์ได้ให้คิดวิธีการแบ่งในรูปแบบหลายๆอย่าง ว่าสามารถแบ่งกระดาษได้แบบไหนอีกโดยเร็วและไม่มีปัญหาเกิดขึ้น  เพื่อนๆก็ได้แสดงความคิดเห็นมาว่าให้นับจำนวนคนในห้องแล้วแจกกระดาษตามจำนวนเพื่อให้กระดาษพอดีไม่มีเกินและไม่มีปัญหาในการหาจำนวนคน  และการนำกระดาษมาไว้ที่คนเดียวและตัดกระดาษตามจำนวนคน  ได้รู้ว่าคณิตศาสตร์นั้นเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเราและเราใช้ในการดำเนินในชีวิตประจำวันอยู่ตลอดเวลา  ซึ่งเราก็สามารถปรับเปลี่ยนการคิดได้หลากหลายและสามารถใช้ให้เป็นประโยชน์ได้  และได้รู้ว่าคณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันด้วย ได้รู้จักคิดตอบคำถามของอาจารย์ และรู้จักการหาคำตอบมากขึ้น  ได้รู้จักการค้นหาบทความ วิจัยและโทรทัศน์ครูที่สามารถนำมาเป็นความรู้เพิ่มเติมในวิชาเรียนมากขึ้น ทำให้ได้ความรู้เรื่องการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้หลายวิธี  และได้รู้การนำเสนอบล็อกว่าควรประกอบไปด้วยอะไรบ้าง  ควรมีปฏิธินและเวลาในการทำบล็อกและมีผู้สนับสนุนและสถานที่สนับสนุนในการเรียน มีข้อมูลการศึกษาหาความรู้จากเรื่องที่เรียนว่านำมาจากที่ไหน มีชื่ออาจารย์ผู้สอน มหาวิทยาลัยและคณะของตนเอง และมีเนื้อหาความรู้ที่ได้จากการเรียนวิชานี้อย่างละเอียด ได้รู้ว่าการทำบล็อกนั้นมีประโยชน์เพราะสามารถย้อนกลับมาดูตอนไหนก็ได้ในเวลาที่ต้องการใช้ในการเรียนการสอนในอนาคต  และควรจัดทำขึ้นอย่างละเอียดและน่าสนใจเพื่อให้เป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับตนเองและผู้อื่น 

ทักษะที่ได้จากการเรียน


1.ทักษะการคิดคำนวณ
2.ทักษะการวิเคราะห์ลักษณะของตนเองและเพื่อนๆ
3.ทักษะการเขียนเพื่อสรุปการเรียนรู้
4.ทักษะการเลือกและการออกแบบการนำเสนอบล็อกที่ดี
5.ทักษะการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน
6.ทักษะการคิดตอบคำถามจากปัญหาที่อาจารย์ได้ตั้งคำถาม
7.ทักษะการฟังในการเรียน
8.ทักษะในการพูดตอบคำถาม
9.ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
10.ทักษะการค้นหาคำตอบด้วยวิธีใหม่ๆ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


- สามารถนำความรู้การคิดคำนวณไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้เพราะเป็นสิ่งที่เราพบเจออยู่เสมอ
- สามารถแก้ปัญหาได้ดีและเร็วมากขึ้น
- รู้จักการทำบล็อกที่ดีและเหมาะสม
- นำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนได้
- ฝึกคิดที่จะแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่น
- เขียนสรุปเรื่องที่เรียนได้เข้าใจ
- รู้จักคิดในการตอบคำถาม
- สังเกตและสนใจความรู้และเรื่องที่เป็นประโยชน์ในการเรียน

ประเมินตนเอง


วันนี้ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ ของอาจารย์ เข้าใจเนื้อหาได้ค่อนข้างดี แต่บางเรื่องอาจยังไม่เข้าใจเพราะเป็นการเรียนในครั้งแรก คิดว่าในครั้งต่อไปจะทำให้เข้าใจได้มากขึ้นค่ะ พยายามคิดหาคำตอบเพื่อตอบคำถามของอาจารย์ให้ได้  และจดบันทึกในเรื่องที่เป็นความรู้ของวิชานี้ ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและให้คำแนะนำที่ดี  รับฟังและคิดตามในขณะที่เรียน คิดว่าในวันนี้สามารถเข้าใจเนื้อหา รับรู้รายละเอียดเกี่ยวกับวิชานี้มากขึ้นและสนุกสนานไปกับการเรียนค่ะ

ประเมินเพื่อน


เพื่อนๆ  ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ รับฟังความคิดเห็นของกันและกัน  คอยช่วยเหลือกัน และช่วยกันแก้ไขปัญหาต่างๆให้ดีขึ้น  สามารถตอบคำถามอาจารย์ได้บางคนแต่เพื่อนๆก็ตั้งใจที่จะหาคำตอบกัน  มีการพูดคุยสนุกสนานกันในเวลาทำกิจกรรมทำให้รู้สึกไม่เครียดกันเพราะเพื่อนๆจะชอบกิจกรรมในระหว่างการเรียนเพราะทำให้เพลิดเพลินกับการเรียนมากขึ้นค่ะ เมื่อมีคำถามหรือข้อสงสัยเพื่อนๆ จะถามอาจารย์กันและทำให้เข้าใจได้มากขึ้นด้วยค่ะ

เทคนิคการสอนและประเมินอาจารย์ผู้สอน


อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดีและเข้าใจได้ง่าย เพราะอาจารย์อธิบายความหมายของวิชานี้อย่างละเอียด และให้นักศึกษาตอบคำถามแสดงความคิดเห็นของวิชานี้ทำให้มีความรู้เกี่ยวกับวิชานี้มากขึ้น จะมีกิจกรรมให้นักศึกษาระว่างการเรียนทำให้รู้สึกไม่เครียดและสนใจการเรียน  อาจารย์จะพูดคุยกับนักศึกษาอยู่เสมอ ทำให้ได้รู้จักอาจารย์มากขึ้น ในการสอนอาจารย์อธิบายเนื้อหาเรื่องที่เรียนได้อย่างละเอียดและสามารถเข้าใจได้ง่าย  เมื่อมีข้อสงสัยอาจารย์จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาถามได้และอธิบายให้นักศึกษาได้เข้าใจ คอยแนะนำให้คำปรึกษาที่ดีและรับฟังคำถามของนักศึกษาอยู่ตลอดจนจบการเรียน