บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้เพื่อนๆและอาจารย์เข้าห้องเรียนในเวลาใกล้กันเลยค่ะ อาจารย์จะทบทวนการไปศึกษาดูงานเพื่อนๆจะช่วยกันตอบว่าได้อะไรจากการไปบ้าง และแจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น เพื่อทำมายแมพเกี่ยวกับสาระที่เด็กควรรู้ ทุกคนตั้งใจฟังที่อาจารย์แนะนำและตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้ อาจมีผิดพลาดในการทำบ้างแต่อาจารย์ให้คำแนะนำอยู่เสมอทำให้การทำกิจกรรมผ่านไปได้ด้วยดีค่ะ
เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ
เรื่องที่เรียน
- ทบทวนการไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนพิบูลเวศม์
- กิจกรรมที่สอดคล้องกับทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์
- ความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์กับกิจกรรมต่างๆ
- วิธีการกำหนดเรื่องที่สอดคล้องกับสาระที่เด็กควรรู้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
ความรู้ที่ได้รับ
- ได้รู้ว่าการไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนใดนั้น จะต้องศึกษาข้อมูลและประวัติของโรงเรียนให้ละเอียด ควรรู้ว่าภายในโรงเรียนเป็นอย่างไร และมีผู้อำนวยการ , คณะอาจารย์ และบุคลากรต่างๆ ของโรงเรียนเป็นใคร เพื่อให้การศึกษาดูงานมีความรู้พื้นฐานมากขึ้นได้
- กิจกรรมที่สอดคล้องกับทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์นั้นจะมีทุกกิจกรรมที่สอดคล้องคณิตศาสตร์อยู่เสมอ เช่น กิจกรรมการเคลื่อนไหว การให้เด็กแตะไหล่ - ยกขึ้นกลาง เป็นการทำซ้ำไปเรื่อยๆ จะอยู่ในการสอนพีชคณิต เรื่อง อนุกรม
- ความสัมพันธ์ของตัวเลข เช่น 5 3 1 - 3 5 7 จะสังเกตได้ว่า 531 เป็นการลดจำนวนทีละ 2 และ 357 เป็นการเพิ่มจำนวนทีละ 2
- การกำหนดเรื่องที่จะสอนเด็กนั้นต้องสอดคล้องกับสาระที่เด็กควรรู้ ประกอบด้วย
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
4. สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก
การกำหนดเรื่องที่จะสอนนั้นจะเริ่มจาก
1. เริ่มจากการกำหนดเรื่องให้สอดคล้องกับสาระที่เด็กควรรู้
2. แบ่งชนิดหรือประเภทของหัวเรื่อง บางเรื่องอาจแบ่งได้และบางเรื่องอาจแบ่งไม่ได้
3. ลักษณะของเรื่องนั้น เช่น สี , ขนาด , รูปร่าง ,รูปทรง , กลิ่น , รส , ส่วนประกอบ เป็นต้น จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับเรื่องของตนเอง
4. การดำรงชีวิต แต่ละเรื่องจะไม่เหมือนกันสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การดูแลรักษา สิ่งไม่มีชีวิต และ การขยายพันธ์ของสิ่งมีชีวิตว่าเป็นอย่างไร
5. ประโยชน์ของเรื่อง
6. โทษและข้อควรระวัง
ทักษะที่ได้จากการเรียน
1.ทักษะการสังเกต
2.ทักษะการบูรณาการการเรียนคณิตศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน
3.ทักษะการจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์
4.ทักษะการหาความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์กับกิจกรรมต่างๆ
5.ทักษะการคิดตอบคำถามจากปัญหาที่อาจารย์ได้ตั้งคำถาม
6.ทักษะการฟังในการเรียน
7.ทักษะในการพูดตอบคำถาม
8.ทักษะการปฏิบัติกิจกรรมให้ตรงตามขอบเขตที่อาจารย์กำหนด
9.ทักษะการกำหนดเรื่องที่สอดคล้องกับสาระที่ควรรู้
10.ทักษะการคิดวิเคราะห์ในการทำกิจกรรม
- รู้จักการนำประสบการณ์ในชีวิตประจำวันมาใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์
- นำทักษะที่ได้จากการเรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอนของเด็กได้
- ฝึกการจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์
- รู้จักหาความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์กับกิจกรรมต่างๆ
- ฝึกการกำหนดเรื่องที่สอดคล้องกับสาระที่ควรรู้และองค์ประกอบในเรื่องให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียนได้เข้าใจ รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์ พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม ตั้งใจฟังเพื่อนๆที่นำเสนอและเข้าใจเนื้อหาของหัวข้อที่เพื่อนนำเสนอ ได้รู้จักการเขียนตารางการมาเรียน และสามารถนำมาสอนให้เด็กรู้จักคณิตศาตร์ได้มากขึ้น ทำให้เข้าใจเนื้อหาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้มากขึ้น
วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ อาจมีบางคนยังทำกิจกรรมพลาดบ้าง แต่ก็พยายามที่แก้ไขให้ถูกต้อง สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียน รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์ พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม มีการนำเสนอที่เข้าใจ แต่บางคนอาจมีเนื้อหาไม่ชัดเจนและยังไม่มั่นใจในการนำเสนอ แต่รับฟังคำแนะนำของอาจารย์อยู่เสมอ มีการคิดตามเนื้อหาระหว่างที่เรียนและช่วยกันตอบคำถามค่ะ
อาจารย์มีการนำกิจกรรมมาให้ปฏิบัติก่อนเริ่มเนื้อหาการสอน มีการยกตัวอย่างในการสอนทำให้เข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้ง่าย และสามารถนำมาปรับใช้ได้ในการเรียนการสอน อาจารย์ได้ให้คำแนะนำตลอดการเรียนการสอน อธิบายเนื้อหาเรื่องที่เรียนได้ละเอียดและชัดเจน มีการคอยรับฟังคำถามหรือเรื่องที่นักศึกษาสงสัยจากเนื้อหาที่เรียนเมื่อจบการเรียนการสอนของวิชาเสมอ แนะนำการวิธีการจัดการสอนโดยให้สอดคล้องกับสาระที่ควรรู้ทั้ง 4 เรื่อง และสอนการหาองค์ประกอบที่อยู่ในเรื่องนั้นได้ละเอียดค่ะ
2.ทักษะการบูรณาการการเรียนคณิตศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน
3.ทักษะการจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์
4.ทักษะการหาความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์กับกิจกรรมต่างๆ
5.ทักษะการคิดตอบคำถามจากปัญหาที่อาจารย์ได้ตั้งคำถาม
6.ทักษะการฟังในการเรียน
7.ทักษะในการพูดตอบคำถาม
8.ทักษะการปฏิบัติกิจกรรมให้ตรงตามขอบเขตที่อาจารย์กำหนด
9.ทักษะการกำหนดเรื่องที่สอดคล้องกับสาระที่ควรรู้
10.ทักษะการคิดวิเคราะห์ในการทำกิจกรรม
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- รู้จักการนำประสบการณ์ในชีวิตประจำวันมาใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์
- นำทักษะที่ได้จากการเรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอนของเด็กได้
- ฝึกการจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์
- รู้จักหาความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์กับกิจกรรมต่างๆ
- ฝึกการกำหนดเรื่องที่สอดคล้องกับสาระที่ควรรู้และองค์ประกอบในเรื่องให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียนได้เข้าใจ รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์ พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม ตั้งใจฟังเพื่อนๆที่นำเสนอและเข้าใจเนื้อหาของหัวข้อที่เพื่อนนำเสนอ ได้รู้จักการเขียนตารางการมาเรียน และสามารถนำมาสอนให้เด็กรู้จักคณิตศาตร์ได้มากขึ้น ทำให้เข้าใจเนื้อหาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้มากขึ้น
ประเมินเพื่อน
วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ อาจมีบางคนยังทำกิจกรรมพลาดบ้าง แต่ก็พยายามที่แก้ไขให้ถูกต้อง สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียน รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์ พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม มีการนำเสนอที่เข้าใจ แต่บางคนอาจมีเนื้อหาไม่ชัดเจนและยังไม่มั่นใจในการนำเสนอ แต่รับฟังคำแนะนำของอาจารย์อยู่เสมอ มีการคิดตามเนื้อหาระหว่างที่เรียนและช่วยกันตอบคำถามค่ะ
เทคนิคการสอนและประเมินอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์มีการนำกิจกรรมมาให้ปฏิบัติก่อนเริ่มเนื้อหาการสอน มีการยกตัวอย่างในการสอนทำให้เข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้ง่าย และสามารถนำมาปรับใช้ได้ในการเรียนการสอน อาจารย์ได้ให้คำแนะนำตลอดการเรียนการสอน อธิบายเนื้อหาเรื่องที่เรียนได้ละเอียดและชัดเจน มีการคอยรับฟังคำถามหรือเรื่องที่นักศึกษาสงสัยจากเนื้อหาที่เรียนเมื่อจบการเรียนการสอนของวิชาเสมอ แนะนำการวิธีการจัดการสอนโดยให้สอดคล้องกับสาระที่ควรรู้ทั้ง 4 เรื่อง และสอนการหาองค์ประกอบที่อยู่ในเรื่องนั้นได้ละเอียดค่ะ
สรุปบทความ , วิจัย และวีดีโอโทรทัศน์ครูที่นำเสนอในวันนี้
สรุปวีดีโอโทรทัศน์ครู ของ น.ส.ภทรธร รัชนิพนธ์ เลขที่ 15
โรงเรียนประถมเกรตบาร์ ในเบอร์มิงแฮมว่ามีวิธีการรับมืออย่างไรในการสังเกตุการณ์เด็กๆและจะวางแผนการสอนคณิตศาสตร์ในชั้นอนุบาลรวมไปถึงประถมอย่างไร
ครูอแมนดา แม็กเคนนา หัวหน้าครูระดับชั้นป.1-2 เชื่อว่าการเรียนคณิตศาสตร์ควรสนุกสนานและเป็น ส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ที่โรงเรียนเกรตบาร์ การเรียนรู้อย่างอิสระผ่านการเล่นเป็นหัวใ จสำคัญในการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรี ยน ขณะนี้โรงเรียนกำลังมุ่งส่งเสริมให้เด็ก ๆ รู้สึกเป็นอิสระที่จะขบแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ด้วยต้วเอง และพัฒนาทักษะเช่น การจดจำตัวเลข การจัดลำดับและการคำนวณไปด้วย
ซึ่งครูจะหยิบตัวเลข 6 แล้วบอกว่าตัวนี้เลข 4 ใช่ไหม ลองเชิงเด็กๆว่าสนใจอยู่ไหม เด็กๆก็จะบอกว่านั้นไม่ใช่เลข 6 แต่เป็นเลข 4 และครูก็ให้เด็กๆออกมาหยิบดูว่าเลข 6 ที่แท้จริงเป็นแบบไหน ครูจะสาธิตวิธีประเมินเด็ก ๆ ผ่านการสังเกตการณ์ในแต่ละวัน และวิธีนำข้อมูลที่ได้เข้าที่ประชุมครูเพื ่อวางแผนการสอนต่อไป โรงเรียนเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า หากเด็ก ๆ รู้สึกสนุกกับวิชาเลขตั้งแต่ชั้นเล็ก ๆ แล้ว ผลการเรียนรู้ในชั้นปีอื่น ๆ ก็จะเปลี่ยนไปในทางดีด้วย
สิ่งสำคัญ : การสอนคณิตศาสตร์ เด็กเล็ก เกม กิจกรรมนอกห้องเรียน เรียนรู้ผ่านชีวิตประจำวัน เลขในชีวิตประจำวัน การสร้างแรงบันดาลใจ สื่อการสอน การวัดประเมิน การสังเกตการณ์ การทำงานเป็นทีม การประชุมครู การวางแผนการสอนร่วมกัน การแข่งขัน ความสนุกในการเรียนคณิตศาสตร์ มีความสนุกกับตัวเลข การจัดลำดับ การจดจำตัวเลข การคำนวณ คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ผ่านการเล่น โดยการศึกษาแบบอิสระ การเรียนรู้อย่างอิสระ ความร่วมมือระหว่างครูและผู้ปกครอง scaffolding การแนะแนวร่วมไปถึงการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ในด้านทักษะการคิดวิเคราะห์อีกด้วย
สรุปวิจัยของน.ส. สุวนันท์ สายสุด เลขที่ 8 (นำเสนอแก้)
เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
- ความมุ่งหมายของวิจัย
เพื่อเปรี่ยบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
- สมมติฐานในการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดรูปแบบกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน
- ขอบเขตการวิจัย
นักรียนระดับปฐมศึกษา ชาย-หญิง โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ จำนวน 10 ห้อง
- เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การสร้างแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
- สรุปผลวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและการจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจำแนก ทักษะการนับ ทักษะการรู้ค่าของจำนวน และทักษะการเพิ่ม-ลด อยู่ในระดับที่ดี และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้น
แผนการสอนการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
หน่อย ต้นไม้ หน่วยย่อย ขนาดของต้นไม้
มโนท้ศน์ ต้นไม้มีขนาดแตกต่างกัน เช่น ต้นใหญ่ ต้นเล็ก ต้นสูง
จุดประสงค์ สามารถจำแนกจำแนกขนาดต้นไม้ได้
กิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นนำ
1.กระตุ้นการเรียนรู้ คือ ให้สิ่งเร้าที่สอดคล้องกับสาระ
2.กรองสู่มโนทัศน์ คือ กระตุ้นให้สะท้อนคิดและโยงความรู้เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น
ขั้นสอน
3.ครูพาเด็กออกไปสังเกตต้นไม้ในบริเวนสนามเล่นในโรงเรียน บอกจุดประสงค์ว่าจะเรียนเรื่องขนาดของต้นไม้
4.สนทนา ตั้งคำถามกับเด็กเกี่ยวกับต้นไม้ เช่น เด็กๆคิดว่าต้นไม้ในสนามมีขนาดเท่ากันหรือไม่ ต้นไม้ต้นไหนใหญ่ที่สุด ต้นไม้มีจำนวนกี่ต้น (ให้เด็กร่วมกันนับ)
7.ครูแจกกระดาษให้เด็กๆวาดรูปต้นไม้ที่ตนเองชอบ
สรุป
ให้เด็กๆถามเกี่ยวกับผลงานของเพื่อนและร่วมกันสรุปการทำกิจกรรมในครั้งนี้
สื่อ
1.ดินสอ
2.กระดาษ
3.ต้นไม้ที่สนามเด็กเล่น (ของจริง)
ประเมิน
1.สังเกตการตอบคำถามเกี่ยวกับต้นไม้ของเด็ก
2.สังเกตความสนใจในการทำกิจกรรม
3.สังเกตผลงานศิลปะของเด็ก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น