บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้มีการเรียนแบบจัดกลุ่มเรียน โดยได้ปรึกษากับงานของแต่ละกลุ่มร่วมกัน มีการอธิบายและแนะนำ แสดงความคิดเห็นของแต่ละกลุ่ม ว่ามีแผนการจัดประสบการณ์เป็นอย่างไร มีการถาม - ตอบ ร่วมกัน ช่วยกันคิดวิเคราะห์กับเรื่องที่กลุ่มนั้นทำ ว่าสอดคล้องและมีวิธีการจัดกิจกรรมเป็นแบบใดให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย และสามารถบูรณาการกับคณิตศาสตร์ได้ มีการรับฟังความคิดเห็นของแต่ละกลุ่มและนำมาปรับใช้ในการกิจกรรมได้
เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ
เรื่องที่เรียน- วิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก
- การจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์
- คณิตศาสตร์บูรณาการทั้ง 6 สาระ
ความรู้ที่ได้รับ
คณิตศาสตร์บูรณาการทั้ง 6 สาระ
1. จำนวนและการดำเนินการ เช่น การรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม การนับจำนวนและการเปรียบเทียบ
2. การวัด ความยาว, สูง
3. เรขาคณิต รูปทรงต่างๆ
4. พีชคณิต ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
5. การคิดวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
- การจัดกิจกรรมควรมีวิธีการจัดที่หลากหลายรูปแบบในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กเพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ที่หลากหลาย และอยู่บนพื้นฐานความแตกต่างระหว่างบุคคล มีความเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก ส่วนใหญเด็กต่างจังหวัดจะมีประสบการณ์การเรียนรู้มากกว่าเด็กกรุงเทพ และควรมีประสบการณ์เดิมของเด็กในการทำกิจกรรม มีการบูรณาการคณิตศาสตร์เข้าไปในการจัดกิจกรรมนั้นด้วย
- ถ้าแบ่งเป็น 2 ประเภทหรือชนิดให้ใช้มากกว่าหรือน้อยกว่า ถ้าเป็น 3 ประเภทให้ใช้มากที่สุด และน้อยที่สุด
- แผนการจัดประสบการณ์จะต้องมีขั้นนำเพื่อเข้าสู่บทเรียนในวันนั้นเสมอ
- การจัดกิจกรรมควรมีวิธีการจัดที่หลากหลายรูปแบบในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กเพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ที่หลากหลาย และอยู่บนพื้นฐานความแตกต่างระหว่างบุคคล มีความเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก ส่วนใหญเด็กต่างจังหวัดจะมีประสบการณ์การเรียนรู้มากกว่าเด็กกรุงเทพ และควรมีประสบการณ์เดิมของเด็กในการทำกิจกรรม มีการบูรณาการคณิตศาสตร์เข้าไปในการจัดกิจกรรมนั้นด้วย
- ถ้าแบ่งเป็น 2 ประเภทหรือชนิดให้ใช้มากกว่าหรือน้อยกว่า ถ้าเป็น 3 ประเภทให้ใช้มากที่สุด และน้อยที่สุด
- แผนการจัดประสบการณ์จะต้องมีขั้นนำเพื่อเข้าสู่บทเรียนในวันนั้นเสมอ
กิจกรรมในแต่ละเรื่องนั้นจะประกอบไปด้วย
1.ประเภท
2.ลักษณะ
3.การดูแลรักษา
4.ประโยชน์
5.โทษและข้อควรระวัง
แผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง ยานพาหนะ วันที่ 1 ประเภทของยานพาหนะ
วัตถุประสงค์
1.เด็กจัดประเภทของยานพหนะได้
2.เด็กนับและบอกจำนวน กำกับตัวเลขฮินดูอารบิกได้ สามารถจัดหมวดหมู่และเปรียบเทียบมากกว่า - น้อยกว่า มากที่สุดและน้อยที่สุดได้
3.เด็กสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
ขั้นนำ
1. ครูมีปริศนาคำทายให้เด็ก เช่น อะไรเอ่ย มีปีก อยู่บนท้องฟ้า แต่ไม่ใช่สัตว์ เป็นต้น และให้เด็กพูดเกี่ยวกับประสบการณ์เดิมของเด็กว่านอกจากเครื่องบินแล้วเด็กรู้จักยานพาหนะอะไรอีกบ้าง
ขั้นสอน
2. แบ่งเด็กเป็น 3 กลุ่ม และให้เด็กนับจำนวนและกำกับเลขฮินดูอารบิกของยานพาหนะ
3. ให้เด็กบอกว่ายานพาหนะอะไรบ้างที่ใช้เดินทาง ทางบก , ทางน้ำและทางอากาศ และให้เด็กนำยานพาหนะไปแปะบนภาพสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเภท
4. ให้เด็กเปรียบเทียบว่ายานพาหนะประเภทไหนมีการใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุดและน้อยที่สุดหรือมากกว่าและน้อยกว่ากัน โดยการนับจำนวนประเภทยานพาหนะที่ใช้มากที่สุด , มากกว่า-น้อยกว่าและน้อยที่สุดมาทำเป็นกราฟให้เด็กได้เปรียบเทียบของประเภทยานพาหนะ
ขั้นสรุป
5. ครูสรุปพูดคุยกับเด็กว่าเด็กรู้จักยานพานะประเภทอะไรบ้าง
แผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง ยานพาหนะ วันที่ 2 ลักษณะของยานพาหนะ
ขั้นนำ
1. ร้องเพลงลักษณะของยานพาหนะ
ขั้นสอน
2. ให้เด็กเลือกภาพยานพาหนะประเภทต่างๆ ที่สนใจมา 1 อย่าง และนำแต่ละประเภทที่เด็กเลือก มาติดไว้และให้เด็กนำส่วนประกอบและลักษณะต่างๆของยานพาหนะประเภทนั้นๆมาแปะตามยานพานะให้ถูกต้อง
ขั้นสรุป
3. ครูสรุปและพูดคุยกับเด็กว่าเด็กรู้จักลักษณะของยานพานะอะไรบ้าง
ทักษะที่ได้จากการเรียน
1.ทักษะการสังเกต
2.ทักษะการบูรณาการการเรียนคณิตศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน
3.ทักษะการจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์
4.ทักษะการหาความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์กับกิจกรรมต่างๆ
5.ทักษะการคิดตอบคำถามจากปัญหาที่อาจารย์ได้ตั้งคำถาม
6.ทักษะการฟังในการเรียน
7.ทักษะในการพูดตอบคำถาม
8.ทักษะการปฏิบัติกิจกรรมให้ตรงวัตถุประสงค์
9.ทักษะการกำหนดเรื่องที่สอดคล้องกับสาระที่ควรรู้
10.ทักษะการคิดวิเคราะห์ในการทำกิจกรรม
2.ทักษะการบูรณาการการเรียนคณิตศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน
3.ทักษะการจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์
4.ทักษะการหาความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์กับกิจกรรมต่างๆ
5.ทักษะการคิดตอบคำถามจากปัญหาที่อาจารย์ได้ตั้งคำถาม
6.ทักษะการฟังในการเรียน
7.ทักษะในการพูดตอบคำถาม
8.ทักษะการปฏิบัติกิจกรรมให้ตรงวัตถุประสงค์
9.ทักษะการกำหนดเรื่องที่สอดคล้องกับสาระที่ควรรู้
10.ทักษะการคิดวิเคราะห์ในการทำกิจกรรม
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- รู้จักการนำประสบการณ์ในชีวิตประจำวันมาใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์
- นำทักษะที่ได้จากการเรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอนของเด็กได้
- ฝึกการจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์
- รู้จักหาความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์กับกิจกรรมต่างๆ
- จัดกิจกรรมและสื่อให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียนได้เข้าใจ รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์ พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม ตั้งใจฟังเพื่อนๆที่นำเสนอและเข้าใจเนื้อหาของหัวข้อที่เพื่อนนำเสนอ ได้รู้จักการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์และสามารถนำมาสอนให้เด็กรู้จักคณิตศาตร์ได้มากขึ้น ทำให้เข้าใจเนื้อหาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้มากขึ้น
ประเมินเพื่อน
วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ อาจมีบางคนยังทำกิจกรรมพลาดบ้าง แต่ก็พยายามที่แก้ไขให้ถูกต้อง สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียน รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์ พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถามมีการคิดตามเนื้อหาระหว่างที่เรียนและช่วยกันตอบคำถามค่ะ
เทคนิคการสอนและประเมินอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์มีเทคนิคในการเรียนแบบกลุ่มและอภิปรายร่วมกันในห้องเรียน ทำให้ได้รับความรู้ที่หลากหลาย มีการยกตัวอย่างในการสอนทำให้เข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้ง่าย และสามารถนำมาปรับใช้ได้ในการเรียนการสอน อาจารย์ได้ให้คำแนะนำตลอดการเรียนการสอน อธิบายเนื้อหาเรื่องที่เรียนได้ละเอียดและชัดเจน มีการคอยรับฟังคำถามหรือเรื่องที่นักศึกษาสงสัยจากเนื้อหาที่เรียนเมื่อจบการเรียนการสอนของวิชาเสมอ แนะนำการวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ได้ชัดเจนและเป็นขั้นตอนทำให้เข้าใจมากขึ้นค่ะ
สรุปบทความ , วิจัย และวีดีโอโทรทัศน์ครูที่นำเสนอในวันนี้
สรุปบทความของนางสาวสุดารัตน์ อาจจุฬา เลขที่ 19
คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่งรอบตัวเรา ในแต่ละวันเด็ก ๆ มีโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับ ตัวเลข จำนวน รูปทรงเรขาคณิต การจับคู่ การแยกประเภท ฯลฯ เช่น
- การตื่นนอน (เรื่องของเวลา)
- การแต่งกาย (การจับคู่เสื่อผ้า)
- การรับประทานอาหาร (การคาดคะเนปริมาณ)
- การเดินทาง(เวลา ตัว เลขที่สัญญาณไฟ ทิศทาง)
- การซื้อของ (เงิน การนับ การคำนวณ) ฯลฯ
1.การสังเกตการจำแนกและการเปรียบเทียบ
1.1 การจำแนกความเหมือนความแตกต่าง
1.2 การจัดหมวดหมู่
1.3 การเรียงลำดับสิ่งต่างๆ
2.ทางด้านตัวเลข และจำนวน
2.1 การนับจำนวน
2.2 การรู้ค่าของจำนวน
2.3 การดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน
3.ทางด้านมิติสัมพันธ์
3.1 เข้าใจตำแหน่ง
3.2 เข้าใจระยะ
3.3 การเข้าใจทิศทาง
3.4 การต่อชิ้นส่วนภาพ
4.ทักษะทางด้านเวลา
4.1 การเปรียบเทียบในเรื่องเวลา
4.2 การเรียงลำดับเหตุการณ์
4.3 ฤดูกาล
สรุปบทความของนางสาวชื่่นนภา เพิ่มพูล เลขที่ 16
ความสำคัญของคณิตศาสตร์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ และถ้าจะค้นหาลึกลงไปนั้นในสมัยโบราณก็คงจะมีการใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ในสังคมให้ความสำคัญกับการคำนวณ การเปรียบเทียบด้วยตัวเลข เปรียบเสมือนกับเป็นสิ่งที่ควบคู่ไปกับวิถีชีวิตของบุคคลต่างๆในสังคม ไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดของสังคม หรือต่างชนชาติกันก็ตาม คณิตศาสตร์ก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็น และเป็นสากล ได้แก่การบวก ลบ คูณ หาร และในความเชื่อที่ว่าคณิตศาสตร์เป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่มีรูปแบบและขั้นตอนมาตรฐาน ดังนี้คือ
1 หาสิ่งที่ต้องการทราบ
2 ว่างแผนการแก้ปัญหา
3 ค้นหาคำตอบ
4 ตรวจสอบ
คณิตศาสตร์นั้นมีความสำคัญกับชีวิตประจำวันเพื่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาบุคคลในสังคมให้เกิดการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ การขาย การคำนวณสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานในการหาข้อสรุปเพื่อให้เกิดชิ้นงานต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อสนองตอบต่อสิ่งที่บุคลต้องการให้เป็นไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวกสบายที่เกิดขึ้นจากข้อความข้างต้นจะเสนอความสอดคล้องของคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวันได้อย่างไรดังตัวอย่างดังต่อไปนี้
- การซื้อขายของ
- การกำหนดราคาเพื่อการตีค่าของราคาที่จะขายเพื่อให้เกิดกำไร
- การสร้างที่อยู่อาศัย เป็นการคำนวณอัตราส่วนของพื้นที่ในการการปลูกสิ่งปลูกสร้าง ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการสร้างที่อยู่อาศัย
- การเงินการธนาคาร เป็นการออมทรัพย์เพื่อให้เกิดความความมั่นของชีวิต มีการคำนวณดอกเบี้ย ผลกำไร การปันผล การแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ทางการเงิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น