วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559

การเรียนรู้ครั้งที่ 11 วันที่ 23 มีนาคม เวลา 8.30 - 12.30 น.




บรรยากาศในห้องเรียน


วันนี้มีการเรียนแบบจัดกลุ่มเรียน โดยได้ปรึกษากับงานของแต่ละกลุ่มร่วมกัน มีการอธิบายและแนะนำ แสดงความคิดเห็นของแต่ละกลุ่ม ว่ามีแผนการจัดประสบการณ์เป็นอย่างไร มีการถาม - ตอบ ร่วมกัน ช่วยกันคิดวิเคราะห์กับเรื่องที่กลุ่มนั้นทำ ว่าสอดคล้องและมีวิธีการจัดกิจกรรมเป็นแบบใดให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย และสามารถบูรณาการกับคณิตศาสตร์ได้  มีการรับฟังความคิดเห็นของแต่ละกลุ่มและนำมาปรับใช้ในการกิจกรรมได้


เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ

เรื่องที่เรียน

- วิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก
- การจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์บูรณาการทั้ง 6 สาระ

ความรู้ที่ได้รับ

 คณิตศาสตร์บูรณาการทั้ง 6 สาระ

1. จำนวนและการดำเนินการ เช่น การรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม การนับจำนวนและการเปรียบเทียบ 
2. การวัด ความยาว, สูง 
3. เรขาคณิต  รูปทรงต่างๆ 
4. พีชคณิต  ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
5. การคิดวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

การจัดกิจกรรมควรมีวิธีการจัดที่หลากหลายรูปแบบในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กเพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ที่หลากหลาย และอยู่บนพื้นฐานความแตกต่างระหว่างบุคคล มีความเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก ส่วนใหญเด็กต่างจังหวัดจะมีประสบการณ์การเรียนรู้มากกว่าเด็กกรุงเทพ และควรมีประสบการณ์เดิมของเด็กในการทำกิจกรรม  มีการบูรณาการคณิตศาสตร์เข้าไปในการจัดกิจกรรมนั้นด้วย
- ถ้าแบ่งเป็น 2 ประเภทหรือชนิดให้ใช้มากกว่าหรือน้อยกว่า ถ้าเป็น 3 ประเภทให้ใช้มากที่สุด และน้อยที่สุด
- แผนการจัดประสบการณ์จะต้องมีขั้นนำเพื่อเข้าสู่บทเรียนในวันนั้นเสมอ

กิจกรรมในแต่ละเรื่องนั้นจะประกอบไปด้วย

1.ประเภท
2.ลักษณะ
3.การดูแลรักษา
4.ประโยชน์
5.โทษและข้อควรระวัง

แผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง ยานพาหนะ วันที่ 1 ประเภทของยานพาหนะ

วัตถุประสงค์

1.เด็กจัดประเภทของยานพหนะได้
2.เด็กนับและบอกจำนวน กำกับตัวเลขฮินดูอารบิกได้ สามารถจัดหมวดหมู่และเปรียบเทียบมากกว่า - น้อยกว่า มากที่สุดและน้อยที่สุดได้ 
3.เด็กสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

ขั้นนำ
1. ครูมีปริศนาคำทายให้เด็ก เช่น อะไรเอ่ย มีปีก อยู่บนท้องฟ้า แต่ไม่ใช่สัตว์ เป็นต้น และให้เด็กพูดเกี่ยวกับประสบการณ์เดิมของเด็กว่านอกจากเครื่องบินแล้วเด็กรู้จักยานพาหนะอะไรอีกบ้าง

ขั้นสอน
2. แบ่งเด็กเป็น 3 กลุ่ม และให้เด็กนับจำนวนและกำกับเลขฮินดูอารบิกของยานพาหนะ
3. ให้เด็กบอกว่ายานพาหนะอะไรบ้างที่ใช้เดินทาง ทางบก , ทางน้ำและทางอากาศ และให้เด็กนำยานพาหนะไปแปะบนภาพสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเภท
4. ให้เด็กเปรียบเทียบว่ายานพาหนะประเภทไหนมีการใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุดและน้อยที่สุดหรือมากกว่าและน้อยกว่ากัน โดยการนับจำนวนประเภทยานพาหนะที่ใช้มากที่สุด , มากกว่า-น้อยกว่าและน้อยที่สุดมาทำเป็นกราฟให้เด็กได้เปรียบเทียบของประเภทยานพาหนะ

ขั้นสรุป
5. ครูสรุปพูดคุยกับเด็กว่าเด็กรู้จักยานพานะประเภทอะไรบ้าง 

แผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง ยานพาหนะ  วันที่ 2 ลักษณะของยานพาหนะ

ขั้นนำ
1. ร้องเพลงลักษณะของยานพาหนะ

ขั้นสอน
2. ให้เด็กเลือกภาพยานพาหนะประเภทต่างๆ ที่สนใจมา 1 อย่าง และนำแต่ละประเภทที่เด็กเลือก มาติดไว้และให้เด็กนำส่วนประกอบและลักษณะต่างๆของยานพาหนะประเภทนั้นๆมาแปะตามยานพานะให้ถูกต้อง

ขั้นสรุป
3. ครูสรุละพูดคุยกับเด็กว่าเด็กรู้จักลักษณะของยานพานะอะไรบ้าง 

ทักษะที่ได้จากการเรียน


1.ทักษะการสังเกต
2.ทักษะการบูรณาการการเรียนคณิตศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน
3.ทักษะการจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์
4.ทักษะการหาความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์กับกิจกรรมต่างๆ
5.ทักษะการคิดตอบคำถามจากปัญหาที่อาจารย์ได้ตั้งคำถาม
6.ทักษะการฟังในการเรียน
7.ทักษะในการพูดตอบคำถาม
8.ทักษะการปฏิบัติกิจกรรมให้ตรงวัตถุประสงค์
9.ทักษะการกำหนดเรื่องที่สอดคล้องกับสาระที่ควรรู้
10.ทักษะการคิดวิเคราะห์ในการทำกิจกรรม


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


- รู้จักการนำประสบการณ์ในชีวิตประจำวันมาใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์
- นำทักษะที่ได้จากการเรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอนของเด็กได้
- ฝึกการจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์
- รู้จักหาความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์กับกิจกรรมต่างๆ
- จัดกิจกรรมและสื่อให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย

ประเมินตนเอง


วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ  สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียนได้เข้าใจ  รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์  พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม  ตั้งใจฟัง
เพื่อนๆที่นำเสนอและเข้าใจเนื้อหาของหัวข้อที่เพื่อนนำเสนอ ได้รู้จักการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์และสามารถนำมาสอนให้เด็กรู้จักคณิตศาตร์ได้มากขึ้น ทำให้เข้าใจเนื้อหาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้มากขึ้น

ประเมินเพื่อน


วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ อาจมีบางคนยังทำกิจกรรมพลาดบ้าง แต่ก็พยายามที่แก้ไขให้ถูกต้อง  สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียน  รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์  พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถามมีการคิดตามเนื้อหาระหว่างที่เรียนและช่วยกันตอบคำถามค่ะ

เทคนิคการสอนและประเมินอาจารย์ผู้สอน


อาจารย์มีเทคนิคในการเรียนแบบกลุ่มและอภิปรายร่วมกันในห้องเรียน ทำให้ได้รับความรู้ที่หลากหลาย 
 มีการยกตัวอย่างในการสอนทำให้เข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้ง่าย  และสามารถนำมาปรับใช้ได้ในการเรียนการสอน  อาจารย์ได้ให้คำแนะนำตลอดการเรียนการสอน อธิบายเนื้อหาเรื่องที่เรียนได้ละเอียดและชัดเจน มีการคอยรับฟังคำถามหรือเรื่องที่นักศึกษาสงสัยจากเนื้อหาที่เรียนเมื่อจบการเรียนการสอนของวิชาเสมอ แนะนำการวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ได้ชัดเจนและเป็นขั้นตอนทำให้เข้าใจมากขึ้นค่ะ



สรุปบทความ , วิจัย และวีดีโอโทรทัศน์ครูที่นำเสนอในวันนี้


สรุปบทความของนางสาวสุดารัตน์  อาจจุฬา เลขที่ 19

คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่งรอบตัวเรา ในแต่ละวันเด็ก ๆ มีโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับ ตัวเลข จำนวน รูปทรงเรขาคณิต การจับคู่ การแยกประเภท ฯลฯ เช่น 

- การตื่นนอน (เรื่องของเวลา)

- การแต่งกาย (การจับคู่เสื่อผ้า) 

- การรับประทานอาหาร (การคาดคะเนปริมาณ) 

- การเดินทาง(เวลา ตัว เลขที่สัญญาณไฟ ทิศทาง) 

- การซื้อของ (เงิน การนับ การคำนวณ) ฯลฯ 


1.การสังเกตการจำแนกและการเปรียบเทียบ

    1.1 การจำแนกความเหมือนความแตกต่าง
    1.2 การจัดหมวดหมู่

    1.3 การเรียงลำดับสิ่งต่างๆ

2.ทางด้านตัวเลข และจำนวน


    2.1 การนับจำนวน

    2.2 การรู้ค่าของจำนวน

    2.3 การดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน

3.ทางด้านมิติสัมพันธ์


    3.1 เข้าใจตำแหน่ง

    3.2 เข้าใจระยะ

    3.3 การเข้าใจทิศทาง

    3.4 การต่อชิ้นส่วนภาพ

4.ทักษะทางด้านเวลา


    4.1 การเปรียบเทียบในเรื่องเวลา

    4.2 การเรียงลำดับเหตุการณ์

    4.3 ฤดูกาล





สรุปบทความของนางสาวชื่่นนภา  เพิ่มพูล เลขที่ 16


           ความสำคัญของคณิตศาสตร์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ และถ้าจะค้นหาลึกลงไปนั้นในสมัยโบราณก็คงจะมีการใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ในสังคมให้ความสำคัญกับการคำนวณ การเปรียบเทียบด้วยตัวเลข เปรียบเสมือนกับเป็นสิ่งที่ควบคู่ไปกับวิถีชีวิตของบุคคลต่างๆในสังคม ไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดของสังคม หรือต่างชนชาติกันก็ตาม คณิตศาสตร์ก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็น และเป็นสากล ได้แก่การบวก ลบ คูณ หาร และในความเชื่อที่ว่าคณิตศาสตร์เป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่มีรูปแบบและขั้นตอนมาตรฐาน ดังนี้คือ
หาสิ่งที่ต้องการทราบ
ว่างแผนการแก้ปัญหา
ค้นหาคำตอบ
ตรวจสอบ             
     คณิตศาสตร์นั้นมีความสำคัญกับชีวิตประจำวันเพื่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาบุคคลในสังคมให้เกิดการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ การขาย การคำนวณสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานในการหาข้อสรุปเพื่อให้เกิดชิ้นงานต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อสนองตอบต่อสิ่งที่บุคลต้องการให้เป็นไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวกสบายที่เกิดขึ้นจากข้อความข้างต้นจะเสนอความสอดคล้องของคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวันได้อย่างไรดังตัวอย่างดังต่อไปนี้               
 -  การซื้อขายของ
- การกำหนดราคาเพื่อการตีค่าของราคาที่จะขายเพื่อให้เกิดกำไร 
-  การสร้างที่อยู่อาศัย เป็นการคำนวณอัตราส่วนของพื้นที่ในการการปลูกสิ่งปลูกสร้าง ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการสร้างที่อยู่อาศัย              
- การเงินการธนาคาร เป็นการออมทรัพย์เพื่อให้เกิดความความมั่นของชีวิต มีการคำนวณดอกเบี้ย ผลกำไร การปันผล การแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ทางการเงิน            



วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559

การเรียนรู้ครั้งที่ 10 วันที่ 16 มีนาคม เวลา 8.30 - 12.30 น.


บรรยากาศในห้องเรียน


วันนี้อาจารย์มีธุระในตอนเช้า และมีการย้ายตึกอาคารเรียนใหม่ จึงมีการย้ายตึกเรียนและย้ายห้องเรียน อาจเสียเวลาไปบ้าง แต่ก็สามารถหาห้องเรียนได้ ภายในห้องอาจไม่ค่อยดีมากเพราะมีการย้ายของไปตึกใหม่แล้ว แต่นักศึกษาก็ตั้งใจฟังอาจารย์และอาจารย์ก็ตั้งใจสอน ให้คำแนะนำกับงานที่ทำมาว่าควรนำไปปรับแก้ไขอย่างไร พร้อมอธิบายงานที่มอบหมายได้ละเอียดและชัดเจนดีค่ะ


เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ


เรื่องที่เรียน

- แนะนำการทำงานในเรื่องที่จะสอนเด็กปฐมวัย
- การทำแผนการจัดประสบการณ์ในแต่ละวัน

ความรู้ที่ได้รับ 

- ได้รู้วิธีการจัดทำเรื่องที่สอนเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยมากขึ้น ว่าควรกำหนดแต่ละหัวข้อให้ถูกต้องและชัดเจนกับเรื่องที่จะสอน  รู้สิ่งที่ควรนำไปแก้ไขให้เหมาะสมมากขึ้น
- การทำแผนการจัดประสบการณ์ในแต่ละวันจะต้องสอดคล้องกับเรื่องที่จะสอนเด็ก และควรมีขึ้นตอนการจัดกิจกรรมที่ภูกต้องและเหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย  ควรสอดคล้องคณิตศาสตร์ไปในการจัดกิจกรรมนั้นด้วย





ทักษะที่ได้จากการเรียน


1. ทักษะการสังเกต
2. ทักษะการฟัง
3. ทักษะการจับใจความสำคัญของเรื่อง
4. ทักษะการคิดวิเคราะห์ตามคำแนะนำของอาจารย์
5. ทักษะการพิจารณาข้อผิดพลาดในการทำงาน


ประเมินตนเอง



วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ  สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียนได้เข้าใจ  อาจมีพลาดในการทำงานบ้างแต่จะนำคำแนะนำของอาจารย์ไปแก้ไขให้ถูกต้องและดีขึ้นในครั้งต่อไปค่ะ



ประเมินเพื่อน



วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน อาจมีบางคนยังทำกิจกรรมพลาดบ้าง แต่ก็พยายามที่แก้ไขให้ถูกต้อง  สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน และจดบันทึกงานที่ได้รับมอบหมาย

เทคนิคการสอนและประเมินอาจารย์ผู้สอน


อาจารย์ได้ให้คำแนะนำตลอดการเรียนการสอน อธิบายงานที่ทำได้เข้าใจว่ามีข้อผิดพลาดที่ใดบ้าง และควรแก้ไขอย่างไร คอยรับฟังคำถามหรือเรื่องที่นักศึกษาสงสัยจากเนื้อหาที่เรียน  มอบหมายงานได้ละเอียดและชัดเจนค่ะ






วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

การเรียนรู้ครั้งที่ 9 วันที่ 9 มีนาคม เวลา 8.30 - 12.30 น.



บรรยากาศในห้องเรียน


วันนี้เพื่อนๆและอาจารย์เข้าห้องเรียนในเวลาใกล้กันเลยค่ะ อาจารย์จะทบทวนการไปศึกษาดูงานเพื่อนๆจะช่วยกันตอบว่าได้อะไรจากการไปบ้าง และแจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น เพื่อทำมายแมพเกี่ยวกับสาระที่เด็กควรรู้ ทุกคนตั้งใจฟังที่อาจารย์แนะนำและตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้ อาจมีผิดพลาดในการทำบ้างแต่อาจารย์ให้คำแนะนำอยู่เสมอทำให้การทำกิจกรรมผ่านไปได้ด้วยดีค่ะ


เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ


เรื่องที่เรียน

- ทบทวนการไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนพิบูลเวศม์
- กิจกรรมที่สอดคล้องกับทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์
- ความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์กับกิจกรรมต่างๆ
- วิธีการกำหนดเรื่องที่สอดคล้องกับสาระที่เด็กควรรู้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย

ความรู้ที่ได้รับ

- ได้รู้ว่าการไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนใดนั้น จะต้องศึกษาข้อมูลและประวัติของโรงเรียนให้ละเอียด ควรรู้ว่าภายในโรงเรียนเป็นอย่างไร และมีผู้อำนวยการ , คณะอาจารย์ และบุคลากรต่างๆ ของโรงเรียนเป็นใคร เพื่อให้การศึกษาดูงานมีความรู้พื้นฐานมากขึ้นได้

- กิจกรรมที่สอดคล้องกับทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์นั้นจะมีทุกกิจกรรมที่สอดคล้องคณิตศาสตร์อยู่เสมอ เช่น กิจกรรมการเคลื่อนไหว การให้เด็กแตะไหล่ - ยกขึ้นกลาง เป็นการทำซ้ำไปเรื่อยๆ จะอยู่ในการสอนพีชคณิต เรื่อง อนุกรม 

- ความสัมพันธ์ของตัวเลข เช่น 5 3 1 - 3 5 7 จะสังเกตได้ว่า 531 เป็นการลดจำนวนทีละ 2 และ 357 เป็นการเพิ่มจำนวนทีละ 2 

- การกำหนดเรื่องที่จะสอนเด็กนั้นต้องสอดคล้องกับสาระที่เด็กควรรู้ ประกอบด้วย
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก 
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
4. สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก 

การกำหนดเรื่องที่จะสอนนั้นจะเริ่มจาก
1. เริ่มจากการกำหนดเรื่องให้สอดคล้องกับสาระที่เด็กควรรู้
2. แบ่งชนิดหรือประเภทของหัวเรื่อง บางเรื่องอาจแบ่งได้และบางเรื่องอาจแบ่งไม่ได้
3. ลักษณะของเรื่องนั้น เช่น สี , ขนาด , รูปร่าง ,รูปทรง , กลิ่น , รส , ส่วนประกอบ เป็นต้น จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับเรื่องของตนเอง
4. การดำรงชีวิต แต่ละเรื่องจะไม่เหมือนกันสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การดูแลรักษา สิ่งไม่มีชีวิต และ การขยายพันธ์ของสิ่งมีชีวิตว่าเป็นอย่างไร 
5. ประโยชน์ของเรื่อง
6. โทษและข้อควรระวัง


ทักษะที่ได้จากการเรียน


1.ทักษะการสังเกต
2.ทักษะการบูรณาการการเรียนคณิตศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน
3.ทักษะการจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์
4.ทักษะการหาความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์กับกิจกรรมต่างๆ
5.ทักษะการคิดตอบคำถามจากปัญหาที่อาจารย์ได้ตั้งคำถาม
6.ทักษะการฟังในการเรียน
7.ทักษะในการพูดตอบคำถาม
8.ทักษะการปฏิบัติกิจกรรมให้ตรงตามขอบเขตที่อาจารย์กำหนด
9.ทักษะการกำหนดเรื่องที่สอดคล้องกับสาระที่ควรรู้
10.ทักษะการคิดวิเคราะห์ในการทำกิจกรรม


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


- รู้จักการนำประสบการณ์ในชีวิตประจำวันมาใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์

- นำทักษะที่ได้จากการเรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอนของเด็กได้
- ฝึกการจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์
- รู้จักหาความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์กับกิจกรรมต่างๆ
- ฝึกการกำหนดเรื่องที่สอดคล้องกับสาระที่ควรรู้และองค์ประกอบในเรื่องให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย


ประเมินตนเอง


วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ  สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียนได้เข้าใจ  รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์  พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม  ตั้งใจฟัง
เพื่อนๆที่นำเสนอและเข้าใจเนื้อหาของหัวข้อที่เพื่อนนำเสนอ ได้รู้จักการเขียนตารางการมาเรียน และสามารถนำมาสอนให้เด็กรู้จักคณิตศาตร์ได้มากขึ้น ทำให้เข้าใจเนื้อหาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้มากขึ้น


ประเมินเพื่อน


วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ อาจมีบางคนยังทำกิจกรรมพลาดบ้าง แต่ก็พยายามที่แก้ไขให้ถูกต้อง  สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียน  รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์  พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม มีการนำเสนอที่เข้าใจ แต่บางคนอาจมีเนื้อหาไม่ชัดเจนและยังไม่มั่นใจในการนำเสนอ แต่รับฟังคำแนะนำของอาจารย์อยู่เสมอ  มีการคิดตามเนื้อหาระหว่างที่เรียนและช่วยกันตอบคำถามค่ะ



เทคนิคการสอนและประเมินอาจารย์ผู้สอน


อาจารย์มีการนำกิจกรรมมาให้ปฏิบัติก่อนเริ่มเนื้อหาการสอน มีการยกตัวอย่างในการสอนทำให้เข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้ง่าย  และสามารถนำมาปรับใช้ได้ในการเรียนการสอน  อาจารย์ได้ให้คำแนะนำตลอดการเรียนการสอน อธิบายเนื้อหาเรื่องที่เรียนได้ละเอียดและชัดเจน มีการคอยรับฟังคำถามหรือเรื่องที่นักศึกษาสงสัยจากเนื้อหาที่เรียนเมื่อจบการเรียนการสอนของวิชาเสมอ แนะนำการวิธีการจัดการสอนโดยให้สอดคล้องกับสาระที่ควรรู้ทั้ง 4 เรื่อง และสอนการหาองค์ประกอบที่อยู่ในเรื่องนั้นได้ละเอียดค่ะ





สรุปบทความ , วิจัย และวีดีโอโทรทัศน์ครูที่นำเสนอในวันนี้


สรุปวีดีโอโทรทัศน์ครู ของ น.ส.ภทรธร รัชนิพนธ์ เลขที่ 15

โรงเรียนประถมเกรตบาร์  ในเบอร์มิงแฮมว่ามีวิธีการรับมืออย่างไรในการสังเกตุการณ์เด็กๆและจะวางแผนการสอนคณิตศาสตร์ในชั้นอนุบาลรวมไปถึงประถมอย่างไร


     ครูอแมนดา แม็กเคนนา หัวหน้าครูระดับชั้นป.1-2 เชื่อว่าการเรียนคณิตศาสตร์ควรสนุกสนานและเป็น­ส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ที่โรงเรียนเกรตบาร์ การเรียนรู้อย่างอิสระผ่านการเล่นเป็นหัวใ­จสำคัญในการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรี­ยน ขณะนี้โรงเรียนกำลังมุ่งส่งเสริมให้เด็ก ๆ รู้สึกเป็นอิสระที่จะขบแก้ปัญหาคณิตศาสตร์­ด้วยต้วเอง และพัฒนาทักษะเช่น การจดจำตัวเลข การจัดลำดับและการคำนวณไปด้วย 
     ซึ่งครูจะหยิบตัวเลข 6 แล้วบอกว่าตัวนี้เลข 4 ใช่ไหม ลองเชิงเด็กๆว่าสนใจอยู่ไหม เด็กๆก็จะบอกว่านั้นไม่ใช่เลข 6 แต่เป็นเลข 4 และครูก็ให้เด็กๆออกมาหยิบดูว่าเลข 6 ที่แท้จริงเป็นแบบไหน  ครูจะสาธิตวิธีประเมินเด็ก ๆ ผ่านการสังเกตการณ์ในแต่ละวัน และวิธีนำข้อมูลที่ได้เข้าที่ประชุมครูเพื­่อวางแผนการสอนต่อไป โรงเรียนเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า หากเด็ก ๆ รู้สึกสนุกกับวิชาเลขตั้งแต่ชั้นเล็ก ๆ แล้ว ผลการเรียนรู้ในชั้นปีอื่น ๆ ก็จะเปลี่ยนไปในทางดีด้วย
สิ่งสำคัญ : การสอนคณิตศาสตร์ เด็กเล็ก เกม กิจกรรมนอกห้องเรียน เรียนรู้ผ่านชีวิตประจำวัน เลขในชีวิตประจำวัน การสร้างแรงบันดาลใจ สื่อการสอน การวัดประเมิน การสังเกตการณ์ การทำงานเป็นทีม การประชุมครู การวางแผนการสอนร่วมกัน การแข่งขัน ความสนุกในการเรียนคณิตศาสตร์ มีความสนุกกับตัวเลข การจัดลำดับ การจดจำตัวเลข การคำนวณ คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ผ่านการเล่น โดยการศึกษาแบบอิสระ การเรียนรู้อย่างอิสระ ความร่วมมือระหว่างครูและผู้ปกครอง scaffolding การแนะแนวร่วมไปถึงการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ในด้านทักษะการคิดวิเคราะห์อีกด้วย




สรุปวิจัยของน.ส. สุวนันท์  สายสุด เลขที่ 8 (นำเสนอแก้)


เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

- ความมุ่งหมายของวิจัย

  เพื่อเปรี่ยบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

- สมมติฐานในการวิจัย

  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดรูปแบบกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน

- ขอบเขตการวิจัย

  นักรียนระดับปฐมศึกษา ชาย-หญิง โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ จำนวน 10 ห้อง

- เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การสร้างแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

- สรุปผลวิจัย

  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและการจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจำแนก ทักษะการนับ ทักษะการรู้ค่าของจำนวน และทักษะการเพิ่ม-ลด อยู่ในระดับที่ดี และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้น

แผนการสอนการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
หน่อย ต้นไม้  หน่วยย่อย ขนาดของต้นไม้

มโนท้ศน์  ต้นไม้มีขนาดแตกต่างกัน เช่น ต้นใหญ่ ต้นเล็ก ต้นสูง

จุดประสงค์ สามารถจำแนกจำแนกขนาดต้นไม้ได้

กิจกรรมการเรียนการสอน

ขั้นนำ

1.กระตุ้นการเรียนรู้ คือ ให้สิ่งเร้าที่สอดคล้องกับสาระ

2.กรองสู่มโนทัศน์ คือ กระตุ้นให้สะท้อนคิดและโยงความรู้เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น


ขั้นสอน

3.ครูพาเด็กออกไปสังเกตต้นไม้ในบริเวนสนามเล่นในโรงเรียน บอกจุดประสงค์ว่าจะเรียนเรื่องขนาดของต้นไม้
4.สนทนา ตั้งคำถามกับเด็กเกี่ยวกับต้นไม้ เช่น เด็กๆคิดว่าต้นไม้ในสนามมีขนาดเท่ากันหรือไม่  ต้นไม้ต้นไหนใหญ่ที่สุด  ต้นไม้มีจำนวนกี่ต้น (ให้เด็กร่วมกันนับ)
7.ครูแจกกระดาษให้เด็กๆวาดรูปต้นไม้ที่ตนเองชอบ

สรุป
ให้เด็กๆถามเกี่ยวกับผลงานของเพื่อนและร่วมกันสรุปการทำกิจกรรมในครั้งนี้

สื่อ
1.ดินสอ
2.กระดาษ
3.ต้นไม้ที่สนามเด็กเล่น (ของจริง)

ประเมิน

1.สังเกตการตอบคำถามเกี่ยวกับต้นไม้ของเด็ก

2.สังเกตความสนใจในการทำกิจกรรม

3.สังเกตผลงานศิลปะของเด็ก




วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

การเรียนรู้ครั้งที่ 8 วันที่ 2 มีนาคม เวลา 8.30 - 15.00 น.


การไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนพิบูลเวศม์


สื่อและกิจกรรมและการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์





นาฬิกาทรายขวดพลาสติกและเครื่องชั่งน้ำหนัก

- เป็นสื่อการเรียนรู้เรื่องเวลาของเด็กว่าแต่ละขวดนั้นมีเวลานานเท่าไหร่ และเครื่องชั่งน้ำหนักไว้สำหรักชั่งน้ำหนักของสิ่งของว่าหนักกี่กิโลกรัมได้


ลูกคิด , บล็อกไม้หลากสี  , โทรศัพท์ของเล่น

- เป็นสื่อของเล่นที่ช่วยพัฒนาทั้ง 4 ด้าน
ด้านร่างกาย เด็กจะได้พัฒนากล้ามเนื้อในส่วนแขนและนิ้วมือ 
ด้านอารมณ์ เด็กจะมีความสนุกสนานเพลิดเพลินในการเล่น 
ด้านสังคม เด็กจะมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆในการเล่นร่วมกัน และการวางแผน 
ด้านสติปัญญา เด็กจะรู้จักการนำจำนวนของลูกคิด การแยกกลุ่มของบล็อกหลากสี รู้จักรูปทรงเรขาคณิตและได้รู้จักตัวเลขต่างๆที่อยู่บนโทรศัพท์ ช่วยให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น


ตารางกิจกรรมของเด็กในแต่ละวัน

- เป็นตารางที่เป็นการแบ่งกลุ่มเวลากับกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน จะทำให้รู้ว่าแต่ละกิจกรรมนั้นมีเวลานานเท่าไหร่  เริ่มและจบกิจกรรมนั้นเมื่อไหร่ และทำให้รู้ว่าแต่ละวันนั้นจะทำกิจกรรมอะไรบ้างให้เด็ก


นาฬิกาของเล่นและบล็อกต่อรูปร่างให้เข้ากัน

- เป็นสื่อที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้เรียนรู้เรื่องเวลา รู้จักเข็มสั้นและเข็มยาว และองค์ประกอบต่างๆของนาฬิกา จะทำให้เด็กรู้ว่าเวลานี้เป็นเวลาอะไร รู้นาทีและวินาทีของเวลา


ตารางสถิติการมาเรียนของเด็ก

- เป็นทักษะในการนับจำนวนคนมาเรียนและไม่มาเรียน จะทำให้ครูและผู้ปกครองรู้ว่าวันนี้มีจำนวนเด็กมากี่คน และแบ่งกลุ่มเป็นชายและหญิง ทำให้ดูว่าจำนวนเด็กชายและหญิงมากี่คน


จำนวนการลบ

- เด็กได้ฝึกทักษะเรื่องการลบเป็นการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก

แผ่นการวัด

- เด็กจะได้รู้ความยาวและความสูงว่ามีกี่เซนติเมตรและรู้จักจำนวนตัวเลขบนแผ่นวัด


บล็อกไม้รูปทรงเรขาคณิตและบล็อกตัวเลขและทิศทางต่างๆ

- ได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงเรขาคณิต รู้จักรูปร่างให้เข้ากับบล็อกไม้ที่กำหนดรูปทรงไว้ และฝึกการนับจำนวนตามแผ่นบล็อก


การเปรียบเทียบความเหมือนต่างของปลา

- เด็กได้ฝึกการเปรียบเทียบของลักษณะของปลาที่แตกต่างและเหมือนกัน ได้ฝึกการแยกกลุ่มที่เหมือนและต่างกัน 


การตกแต่งภาพจากหิน

- เด็กรู้จักขนาดเล็กและใหญ่ของหิน มีการจัดวางเรียงได้เป็นระเบียบและสวยงาม



การเรียนเรื่องเงิน

- เด็กได้รู้จักจำนวนการนับเงิน และรู้จักเหรียญว่ามีจำนวนเท่าไหร่


ตารางแบบสำรวจ

- ได้รู้จักการแบ่งกลุ่มและการนับจำนวนมีและไม่มี



การแบ่งกลุ่มเด็กในห้องเรียน

- รู้จักการแบ่งกลุ่มตามรูปและสัญลักษณ์ที่กำหนดไว้ ว่าเด็กอยู่กลุ่มไหน


แผนภูมิแสดงผลการเรียนรู้

- เป็นการแบ่งกลุ่มและจำนวนของเด็กที่ชอบว่ามีจำนวนเท่าไหร่ และมีการสรุปผลว่ามีจำนวนทั้งหมดเท่าไหร่

ความรู้ที่ได้รับ


รู้จักการเลือกใช้สื่อที่สามารถนำมาส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ได้มากขึ้น และรู้ว่าแต่ละสื่อนั้นควรจัดอย่างไรให้น่าสนใจและเหมาะสมสำหรับเด็ก  มีการจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนที่ส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์โดยการใช้สื่อมาเป็นการเรียนรู้สำหรับเด็ก และให้เด็กได้เรียนรู้และปฏิบัติได้ด้วยตนเอง จะทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากการเรียนรู้ และสามารถนำไปบูรณาการกับการเรียนคณิตศาสตร์ได้ และยังทำให้เด็กสนใจคณิตศาสตร์มากขึ้น

การจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก


บูรณาการเรียนด้วยกิจกรรม 6 กิจกรรม 

1. กิจกรรมเคลื่อนไหว
2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
3. กิจกรรมสร้างสรรค์
4. กิจกรรมเสรี
5. กิจกรรมกลางแจ้ง
6. กิจกรรมเกมการศึกษา


กิจกรรมเสริมประสบการณ์



กิจกรรมสร้างสรรค์


กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ



กิจกรรมศึกษาตามแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน



การเรียนรู้หลักสูตรแบบ mini english program ( MEP ) 

- การเรียนการสอนแบบบูรณาการเน้นพัฒนาการเด็ก ทั้ง ด้าน ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญาได้นำวิทยาศาสตร์ ,คณิตศาสตร์
และภาษาธรรมชาติ  การสอนแบบวอลดอร์ฟมารวมกัน และสอดแทรกคำถาม  ทักษะกระบวนการคิดและประสบการณ์สำคัญของเด็ก
การจัดประสบการณ์เน้นหน่วยทั้งหมด 40 หน่วย เช่น หน่วยผลไม้ , ผัก ใช้สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องรอบตัว
- การเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรแบบ  mini english program ( MEP ) เป็นการสอนที่มีภาษาอังกฤษ 50 % ในการเรียนการสอน
- การสอนแบบโครงการ Pro ject Approach เป็นนวัตกรรมที่โรงเรียนใช้มาประมาณ 10 กว่าปี  

โรงเรียนจะเน้นจัดการสอนแบบโครงการ Project Approach




การอภิปราย

เด็กได้ร่วมสนทนากับเพื่อนทั้งกลุ่มย่อย ทั้งชั้นเรียน เกี่ยวกับสิ่งที่สนใจ ทำให้เด็กมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันครูแนะนำสิ่งต่างๆช่วยให้เด็กคิดและสร้างความรู้ได้ง่ายขึ้น


การอภิปราย

การทำงานภาคสนาม

เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรง จากการไปศึกษานอกสถานที่ สำรวจสิ่งต่างๆนอกห้องเรียน สถานที่ต่างๆเช่น ร้านค้า ถนน ป้าย การสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ การทำงานภาคสนามจะช่วยให้เด็กสร้างองค์ความรู้ได้


การทำงานภาคสนาม

การนำเสนอประสบการณ์

ช่วยให้เด็กได้ทบทวนและจัดระบบประสบการณ์ของตนเอง สิ่งที่นำเสนออาจมาจากการอภิปราย หาหัวข้อที่สนใจ การกำหนดคำถามการนำเสนอประสบการณ์ที่ตัวเองได้เรียนรู้ หาหัวข้อที่สนใจ การกำหนดคำถาม การนำเสนอประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ เช่น การวาดภาพการเขียน การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ บทบาทสมมติ สร้างสิ่งจำลอง เป็นต้น เพื่อเสนอให้เพื่อน ครู พ่อแม่ เข้าใจ


การนำเสนอประสบการณ์


การสืบค้น


ารสืบค้นสามารถใช้ข้อมูลที่หลากหลายวิธีตามความสนใจของเด็ก เพื่อค้นหาคำตอบของคำถามที่ตั้งไว้ เด็กๆอาจสัมภาษณ์พ่อแม่บุคคลในครอบครัว ขณะที่ออกภาคสนาม เด็กสืบข้อมูลหลายรูปแบบใช้แว่นขยายส่องดูของเล็กๆ สัมผัสการสังเกตผ่านประสาทสัมผัสทั้ง การทดลอง การหาคำตอบจากห้องสมุด เป็นต้น



การสืบค้น

การจัดแสดง

ผลงานของเด็กทั้งที่เป็นรายบุคคล รายกลุ่ม ซึ่งสามารถนำมาจัดแสดงได้ตลอดทุกระยะ การดำเนินการตามโครงการเกิดการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ เด็กและครูมีโอกาสได้บอกเรื่องราวของโครงการให้ผู้อื่นที่มาเยี่ยมเยือน


การจัดแสดง

จากโครงสร้างทั้ง จะอยู่ในระยะต่างๆ มี ระยะ

ระยะที่ ระยะเริ่มต้น เป็นระยะสร้างความสนใจของเด็ก
ระยะที่ ระยะดำเนินโครงการ เป็นระยะค้นหาคำตอบที่อยากรู้
ระยะที่ ระยะสรุปโครงการ เป็นระยะสรุปและประเมินผล

ตัวอย่างการสอนแบบโครงการ เรื่อง หิน


คณิตศาสตร์บูรณาการทั้ง 6 สาระ

1. จำนวนและการดำเนินการ
2. การวัด
3. เรขาคณิต
4. พีชคณิต
5. การคิดวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

โครงการเรื่องหิน  

เด็กจะได้เรียนรู้ความหนัก - เบา ,เส้นรอบวง , ความยาว , การนับ , การคาดคะเนและรูปทรงเรขาคณิต

การประเมินของโครงการ

เด็กสามารถบอกชนิดของหินได้ แยกประเภทและแยกกลุ่มได้ รู้จักแยกสีและขนาด , รูปทรงได้

 วิธีการประเมินและเครื่องมือการประเมิน


- ประเมินตามสภาพจริง คือ การสังเกตเด็กจากการเล่นกลางแจ้ง การกระโดดของเด็ก จัดกลุ่มตามขนาดเล็กใหญ่ได้ โดยมีเกณฑ์การประเมินตามสภาพจริง เน้นการปล่อยให้เด็กปฏิบัติ และสังเกตพฤติกรรมในทุกๆ ด้าน เช่น ด้านอารมณ์และจิตใจ ประเมินจากความสุนทรีของเด็กในการวาดภาพตามจินตนาการ 

เครื่องมือการประเมิน แบบประเมินไม่เน้นเด็กในการอ่าน , เขียน แต่แบบประเมินจะประเมินตามพัฒนาการทั้ง ด้าน จะมีสมุดบันทึก  แบบรายงานประจำตัวเด็ก และจะเก็บผลงานของเด็กเป็นแฟ้มสะสมงาน ดูผลงานในทุกๆเดือน และสะสมเป็นรายปี 


คู่มือการประเมินตามสภาพจริง มี 3 ระดับ

3 ชัดเจน
2 เท่ากับเกณฑ์
1 ต่ำกว่าเกณฑ์


สมุดรายงานประจำตัวเด็ก



แฟ้มสะสมผลงานของเด็ก

ภาพการศึกษาดูงานที่โรงเรียนพิบูลเวศม์ 





เด็กๆมาโรงเรียนตอนเช้า



ห้องประชุมโรงเรียนพิบูลเวศม์


การวาดภาพระบายสีของเด็กๆ



การสอนแบบ MEP ในห้องเรียน



กิจกรรมเคลื่อนไหวในห้องเรียน



กิจกรรมสร้างสรรค์ ปั้นกินน้ำมัน



เด็กๆ รับประทานอาหารกลางวัน



นักศึกษารับประทานอาหารกลางวัน


การประชุมการศึกษาดูงาน



ภาพถ่ายร่วมกันของอาจารย์และนักศึกษา

ความรู้ที่ได้รับ


รู้จักการใช้สื่อและกิจกรรมการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ว่าควรนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างไรให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย รู้วิธีการจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก ว่าควรนำกิจกรรม 6 กิจกรรมหลักมาใช้ในการบูรณาการการเรียนการสอน และจะต้องส่งเสริมพัฒนาทั้ง 4 ด้านในการจัดกิจกรรม สอดแทรกคำถาม ทักษะกระบวนการคิดและประสบการณ์สำคัญของเด็ก ได้รู้วิธีการสอนแบบโครงการ Project Approach ว่ามีวิธีการจัดเป็นอย่างไร และได้รู้วิธีการประเมินและเครื่องมือที่ประเมินในการจัดกิจกรรมและการเรียนการสอนของเด็กว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้ในอนาคต

ทักษะที่ได้จากการศึกษาดูงาน


- ทักษะการสังเกต
- ทักษะการคิดวิเคราะห์เนื้อหา
- ทักษะการฟังและการมองเห็น
- ทักษะการเขียนสรุป
- ทักษะการคิดแสดงความคิดเห็น

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


- ทำสื่อได้หลากหลายที่ส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์
- นำความรู้การจัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมมาใช้ในการเรียนการสอนได้
- เน้นการทำกิจกรรมที่ให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ
- ฝึกทำการสอนแบบโครงการ Pro ject Approach

ประเมินตนเอง


วันนี้ไปตรงเวลาที่ครูกำหนดให้ไปศึกษาดูงาน ตั้งใจฟังและจดบันทึกระหว่างการศึกษาและระหว่างการประชุมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพิบูลเวศม์  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ สนใจและปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับการศึกษาดูงาน  คอยถามและฟังคำแนะนำของครูที่โรงเรียนเสมอ ตั้งใจศึกษาดูงานภายในโรงเรียนว่าเป็นอย่างไรได้อย่างเข้าใจ 

ประเมินเพื่อน


เพื่อนๆ ตั้งใจฟังและจดบันทึกระหว่างการศึกษาและระหว่างการประชุมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพิบูลเวศม์  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ สนใจและปฏิบัติกิจกรรมอย่างตั้งใจ คอยช่วยเหลือกันและกัน และปฏิบัติตนได้เหมาะสมในการไปศึกษาดูงาน