วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การเรียนรู้ครั้งที่ 13 วันที่ 20 เมษายน เวลา 8.30 - 12.30 น.


บรรยากาศในห้องเรียน


วันนี้มีการเรียนแบบจัดกลุ่มเรียน และให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอนิทาน มีการนำเสนอแลกเปลี่ยนความรู้ด้วยกันทั้งอาจารย์และนักศึกษา  และได้ปรึกษากับงานของแต่ละกลุ่มร่วมกัน มีการอธิบายและแนะนำ แสดงความคิดเห็นของแต่ละกลุ่ม ว่ามีแผนการจัดประสบการณ์เป็นอย่างไร มีการถาม - ตอบ ร่วมกัน ช่วยกันคิดวิเคราะห์กับเรื่องที่กลุ่มนั้นทำ ว่าสอดคล้องกับคณิตศาสตร์อย่างไรและมีวิธีการแต่งนิทานเป็นแบบใดให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย และสามารถบูรณาการกับคณิตศาสตร์ได้หรือไม่  มีการรับฟังความคิดเห็นของแต่ละกลุ่มและนำมาปรับใช้ในการกิจกรรมได้


เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ


เรื่องที่เรียน

- การแต่งนิทานให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์

- ทักษะคณิตศาสตร์
- การสร้างสรรค์งานให้เหมาะสม

ความรู้ที่ได้รับ


- ได้รู้วิธีการแต่งนิทานให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์ ว่าเนื้อเรื่องควรเป็นลักษณะแบบใด 
- รู้จักการใช้คำให้เหมาะสมและน่าสนใจในเนื้อเรื่อง
- การให้ข้อมูลความรู้เด็กนั้นจะต้องให้เด็กได้คิดต่อด้วยตนเองได้โดยการใช้คำถาม
- การสร้างสรรค์งานจะต้องฟังจากเพื่อนที่นำเสนอและนำความรู้หรือข้อแนะนำมาปรับใช้และนำไปสร้างสรรค์เป็นของตนเองได้ในอนาคต


การนำเสนองานของกลุ่มกล้วย นิทานเรื่อง กล้วยน้อยช่างคิด 





เนื้อหาในเรื่องนั้นจะบอกถึงประโยชน์ของกล้วยและส่วนประกอบของกล้วย

ข้อเสนอแนะจากการนำเสนอ

- เนื้อเรื่องควรสอดคล้องกับคณิตศาสตร์ เช่น จำนวน , เรขาคณิต , รูปร่างรูปทรง
- ตัวหนังสือควรอ่านได้ง่ายและชัดเจน
- ทำรูปเล่มให้เหมาะสมไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป
- ใช้คำให้เหมาะสมและมีเนื้อเรื่องที่น่าใจมากขึ้น




การนำเสนอของกลุ่ม ของเล่นของใช้ นิทานเรื่อง หนูจินสอนเพื่อน





เนื้อหาเป็นเรื่องเกี่ยวกับของเล่นของใช้ โดยใช้การเล่าเป็นกลอน อ่านเสียงชัดเจน น่าฟังเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง โดยมีหนูจินจะบอกเกี่ยวกับของเล่นของใช้แต่ละอย่างว่ามีไว้ใช้ทำอะไรบ้าง และเน้นเรื่องการจับคู่ของเล่นของใช้

ข้อเสนอแนะจากการนำเสนอ

- เนื้อเรื่องควรสอดคล้องกับคณิตศาสตร์ เช่น ขนาด , ความสูง/ยาว , น้ำหนัก
- ใช้คำให้ถูกต้องเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
- สามารถปรับเนื้อเรื่องให้สั้นขึ้นได้
- ตัวหนังสือควรอ่านได้ง่ายและชัดเจน
- ทำรูปเล่มให้เหมาะสมไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป
- ใช้คำให้เหมาะสมและมีเนื้อเรื่องที่น่าใจมากขึ้น




การนำเสนองานของกลุ่ม ผลไม้ นิทานเรื่อง ประโยชน์ของผลไม้





เนื้อหาเรื่องจะเป็นเกี่ยวกับประโยชน์ของผลไม้ต่างๆและลักษณะรูปร่างของผลไม้นั้นๆ

ข้อเสนอแนะจากการนำเสนอ

- เนื้อเรื่องควรสอดคล้องกับคณิตศาสตร์ เช่น รูปทรงของผลไม้ เช่น ส้ม ทรงกลม แอปเปลิ้ หลายรูปทรง
- ใช้คำพูดในเนื้อเรื่องให้น่าสนใจมากขึ้น
- ตัวหนังสือควรอ่านได้ง่ายและชัดเจน
- ทำรูปเล่มให้เหมาะสมไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป
- ใช้คำให้เหมาะสมและมีเนื้อเรื่องที่น่าใจมากขึ้น






การนำเสนองานของกลุ่ม ยานพาหนะ นิทานเรื่อง หมีน้อยกับรถคู่ใจ




กลุ่มของดิฉันค่ะ ^^

เนื้อหาในเรื่องนั้นจะเกี่ยวกับหมีน้อยที่เดินทางไปบ้านคุณยายกับรถคู่ใจ ซึ่งเกี่ยวกับการดูแลรักษารถยนต์ เช่น ก่อนออกเดินทาง จะต้องตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์ เช็คน้ำมัน , เช็คลมยาง , เช็คเครื่องปัดน้ำฝน เป็นต้น เมื่อรถยนต์มีเกิดความสกปรก ก็ควรดูแลรักษาโดยการทำความสะอาด เช็ดล้าง ให้สะอาด และเนื้อเรื่องจะสอดคล้องกับคณิตศาสตร์ตั้งแต่ต้นเรื่องจนจบ คือ เวลา , จำนวน , ระยะทาง , ทิศทาง 

ข้อเสนอแนะจากการนำเสนอ

- ใช้คำพูดในเนื้อเรื่องให้เหมาะสมสำหรับเด็กและน่าสนใจมากขึ้น
- เพิ่มเติมเนื้อเรื่อง คือ มีอะไรอยู่หน้าบ้านคุณยาย , มีสัญลักษณ์อะไรที่สังเกตได้ก่อนไปถึงบ้านคุณยาย เช่น ต้นไม้ 2 ต้น 
- ควรร่างก่อนการทำงาน
- ตัวหนังสือควรอ่านได้ง่ายและชัดเจน
- ทำรูปเล่มให้เหมาะสมไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป





ทักษะที่ได้จากการเรียน


1.ทักษะการสังเกต
2.ทักษะการบูรณาการการเรียนคณิตศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน
3.ทักษะการจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์
4.ทักษะการแต่งนิทานให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง
5.ทักษะการคิดตอบคำถามจากปัญหาที่อาจารย์ได้ตั้งคำถาม
6.ทักษะการฟังในการเรียน
7.ทักษะในการพูดตอบคำถาม
8.ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
9.ทักษะการกำหนดใช้คำให้ถูกต้อง
10.ทักษะการใช้คำให้น่าสนใจในการแต่งนิทาน



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


- นำความรู้และคำแนะนำจากการนำเสนอของเพื่อนไปสร้างสรรค์ปรับเป็นงานของตนเอง
- นำทักษะที่ได้จากการเรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอนของเด็กได้
- ฝึกการแต่งนิทานให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์
- รู้จักใช้คำให้เหมาะสมและน่าสนใจมากขึ้นในการแต่งนิทาน


ประเมินตนเอง


วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ  สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียนได้เข้าใจ  รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์  พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม  การนำเสนอของกลุ่มมีทั้งสิ่งที่ดีและผิดพลาด แต่จะนำคำแนะนำของอาจารย์ไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป  ตั้งใจฟัง
เพื่อนๆที่นำเสนอและเข้าใจเนื้อหาของหัวข้อที่เพื่อนนำเสนอ ได้รู้จักการเแต่งนิทานให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์และสามารถนำมาสอนให้เด็กรู้จักคณิตศาตร์ได้มากขึ้น ทำให้เข้าใจเนื้อหาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้มากขึ้น



ประเมินเพื่อน


วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ  มีการทำกิจกรรมผิดพลาดบ้าง แต่ก็รับฟังคำแนะนำของอาจารย์ และแก้ไขให้ถูกต้อง  สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียน  รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์  พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถามมีการคิดตามเนื้อหาระหว่างที่เรียนและช่วยกันตอบคำถามค่ะ

เทคนิคการสอนและประเมินอาจารย์ผู้สอน



อาจารย์มีเทคนิคในการเรียนแบบกลุ่มและอภิปรายร่วมกันในห้องเรียน ทำให้ได้รับความรู้ที่หลากหลาย  มีการยกตัวอย่างในการสอนทำให้เข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้ง่าย  และคำแนะนำระหว่างการนำเสนอของแต่ละกลุ่มสามารถนำมาปรับใช้ได้ในการเรียนการสอนครั้งต่อๆไป  อาจารย์ได้ให้วิธีการจัดกิจกรรมที่ถูกต้อง  อธิบายเนื้อหาเรื่องที่เรียนได้ละเอียดและชัดเจน มีคำถามให้นักศึกษาได้คิดหาวิธีด้วยตนเองในการแก้ปัญหาที่ผิดพลาด คอยรับฟังคำถามหรือเรื่องที่นักศึกษาสงสัยจากเนื้อหาที่เรียนเมื่อจบการเรียนการสอนของวิชาเสมอ แนะนำการแต่งนิทานได้ชัดเจนและเป็นขั้นตอนทำให้เข้าใจมากขึ้นค่ะ


- -


สรุปวิจัย นางสาวยุคลธร  ศรียะลา เลขที่ 20


การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้  ของคมขวัญ อ่อนบึงพร้าว

จุดประสงค์
- บอกจำนวนเพื่มขึ้นของสิ่งของได้

วิธีการดำเนินการ
นักเรียน อนุบาล 3 เวลา 45 นาที หน่วยสัตว์ หัวข้อย่อย สัตว์มีพิษ  แบ่งเป็น 8 สัปดาห์

ทักษะทางคณิตศาสตร์
1. การจำแนก
2. การบอกตำแหน่ง
3. การนับเลข 1 - 30
4. การรู้ค่าจำนวน
5. การอ่านค่าจำนวน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น