วันนี้ไม่ได้ไปเรียนเนื่องจากลาป่วยค่ะ จึงบันทึกความรู้ที่ได้เพื่อนได้เรียนกันในวันนี้
วันนี้ครูให้นำไม้ที่ตัดมาแล้วตัดส่วนตามที่ครูบอก และแจกนำดินน้ำมัน โดยให้นำไม้ที่ตัดมาทำเป็นรูปทรงต่างๆและเชื่อมต่อกันด้วยดินน้ำมัน แต่ไม่ได้มาเรียนเนื่องจากลาป่วยค่ะ
การนำไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำไปจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยได้ ให้เด็กได้รู้จักการปฏิบัติและแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง
สรุปบทความ , วิจัย และวีดีโอโทรทัศน์ครูที่นำเสนอในวันนี้
สรุปบทความของน.ส.พรประเสริฐ กลับผดุง เลขที่ 13
เรื่อง คณิตศาสตร์ปฐมวัยเรียนอย่างไรให้สนุกและเข้าใจ
การสอนเด็กอนุบาลจะต้องค่อยๆเป็นค่อยๆไปไม่ต้องรีบ เราจำเป็นต้องปูพื้อฐานให้แน่ก่อนเมื่อเด็กมีฐานที่มั่นคงการไปต่อในด้านคณิตศาสตร์นั้นก็ง่ายและไปได้เร็ว ในการเรียนคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพเรียนให้ได้ดีและสนุกนั้นต้องผ่านการเล่นโดยเด็กสามารถเริ่มเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ตั้งแต่ 1 ขวบ เด็กสามารถเรียนรู้ได้จำได้แต่ความเข้าใจจะเพิ่มขึ้นตามอายุ คณิตศาสตร์นี้ไม่ได้มีเพียงแค่ตัวเลข 1-10 เท่านั้น แต่ยังมีสี ขนาด รูปทรง ความกว้างความยาว นี้คือจุดเริ่มต้นของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กเล็กๆ เด็กนั้นจะจดจำสัญลักษณ์ได้ว่าสัญลักษณ์แบบนี้คือเลขนี้แบบนี้คือเลขนั้นนะแต่เด็กจะไม่รู้ความหมาย เด็กแต่ละคนนั้นจะไม่เหมือนกันมีความสนใจต่างกัน บางคนสนใจวิชาการบางคนสนใจ ในการทำกิจกรรม ดังนั้นกิจกรรมจะต้องมีความสนุกและเข้ากับเด็กได้ในทุกรูปแบบ ผู้ปกครองก็มีส่วนสำคัญในการต่อยอด การสอนเราจะต้องคอยถามเด็กเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ความคิด
สรุปงานวิจัยของ น.ส.ณัฐณิชา ศรีบุตรตา เลขที่ 14
เรื่อง การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรี ตามแนวออร์ฟ-ชูคเวิร์ค
กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการทดลอง
เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี จำนวน 30 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2
โรงเรียนศรีดรุณ จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้ระยะเวลาทดลอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์
ดยผสานกิจกรรมตางๆเขาดวยกันอยางผสมกลมกลืน ไดแก
- คําพูด
- การรองเพลง
- ลีลาและการเคลื่อนไหว
- การใชรางกายทําจังหวะ
- การคิดแตงทํานองหรือทาทางแบบทันทีทันใด
การจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค สามารถบูรณาการสาระการเรียนรูในดาน ตางๆผสมผสานเขาไปในกิจกรรมทั้ง 5 ดังกลาว การวิจัยครั้งนี้ตองการศึกษาความสัมพันธของการจัด ประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค สัมพันธกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร ในการวาง แผนการจัดกิจกรรมแตละครั้งจึงตองมีการบูรณาการเนื้อหาสาระทางดานคณิตศาสตรกับกิจกรรมดนตรีเพื่อสงเสริมทักษะพื้นฐานคณิตศาสตรอยางสัมพันธกัน
สรุปงานวิจัยของน.ส.ศิริพร ขมิ้นแก้ว เลขที่ 11 (นำเสนอใหม่)
วิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร ของ ศุภนันท์ พลายแดง
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี
ที่กา ลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปี ที่ 1 ของโรงเรียนมิตรภาพ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี
ที่กา ลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปี ที่ 1 ของโรงเรียนมิตรภาพ
ระยะเวลาในการทดลอง
ใช้เวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 30 นาที
ตัวแปรที่ศึกษา
1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ใช้เวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 30 นาที
ตัวแปรที่ศึกษา
1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
สรุปผลการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารก่อนและหลังการทดลอง
มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารก่อนและหลังการทดลอง
มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน
แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยสาระการเรียนรู้ อาหารดีมีประโยชน์ เรื่อง น้าส้มคั้น
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้เด็กสามารถเปรียบเทียบปริมาณของน้า ส้มที่แตกต่างกันได้
1. เพื่อให้เด็กสามารถเปรียบเทียบปริมาณของน้า ส้มที่แตกต่างกันได้
สาระการเรียนรู้
1. สาระการเรียนรู้
- การปฏิบัติตนในการประกอบอาหาร
2. กิจกรรมสำคัญ
- การประกอบอาหาร และการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
เนื้อหา
1. ประโยชน์ของส้ม
2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การเปรียบเทียบ
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
1. ครูให้เด็กทุกคนปิดตา และให้ชิมสิ่งที่ครูเตรียมไว้ในจานบนโต๊ะที่ละคน หลังจาก
ชิมครบทุกคนแล้ว ครูถามว่าคืออะไร เด็กช่วยกันตอบ ครูหยิบบัตรภาพและบัตรคำเฉลยส้ม
2. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึงประโยชน์ของส้ม โดยใช้คำถามดังนี้
3. เด็กและครูร่วมกันสนทนาถึงการนำส้มมาทำน้ำส้มคั้น ครูนำวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆให้เด็กได้รู้จักและสัมผัสกันทั่ว
4. ครูและเด็กร่วมกันทบทวนข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรมประกอบอาหาร
การทำน้ำส้มคั้น เช่นมีข้อตกลงดังนี้
4.1 เด็ก ๆ ต้องรู้จักอดทนรอคอย และมีระเบียบวินัย
4.2 ไม่พูดคุยเสียงดัง ในระหว่างทำกิจกรรม
4.3 ไม่ทำวัสดุ อุปกรณ์ เสียหาย และหลังจากปฏิบัติกิจกรรมเสร็จต้องช่วยกันเก็บ
4.4 ต้องเคารพกฎกติกาในการประกอบอาหารโดยทำอย่างระมัดระวัง และช่วยเหลือกันและกัน
ขั้นดำเนินการ
1. เด็ก ๆ เข้าแถวรอรับอุปกรณ์ วัสดุ ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำน้ำส้มคั้น
2. ครูแบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จะเตรียมส้มและคั้น กลุ่มที่ 2 จะรับไปปรุงแต่งรสและแจกจ่ายเพื่อนๆ เพื่อชิม โดยครูคอยให้คำแนะนา ชี้แนะ
3. เมื่อได้น้ำส้มมาแล้ว ครูเตรียมแก้วใสที่มีรูปทรงเดียวกันมาทั้งหมด 6 ใบ แล้วรินน้ำส้มใส่ในแก้ว ซึ่งจะใส่ในปริมาณที่เท่ากันเป็นคู่ ๆ จากนั้นวางสลับกัน ติดหมายเลข 1-6 ที่แก้ว
ครูให้ตัวแทนกลุ่มทั้งสองกลุ่มออกมา จับคู่แก้วที่มีปริมาณน้า ส้มเท่ากัน ทีละกลุ่ม ให้เด็กที่เหลือ
ช่วยกันเป็นกรรมการและปรบมือชื่นชมกลุ่มที่ทำได้ถูกต้อง
4. หลังจากทำกิจกรรมเสร็จเด็ก ๆ ร่วมกันเก็บอุปกรณ์ และร่วมกันทำความสะอาด
บริเวณที่ทำกิจกรรม
ขั้นสรุป
1. ครู และเด็กร่วมกันสรุปถึงประโยชน์ของน้ำส้มคั้น
2. ครูกล่าวชื่นชมและให้กำลังใจเด็กแต่ละคนที่มีระเบียบวินัยในตนเอง
สื่อการเรียนรู้
1. ภาพส้ม
2. บัตรคำ ส้ม ป้ายตัวเลข 1-6
3. ผลส้ม
4. แก้วใส 6 ใบ และ อุปกรณ์ ส่วนผสมในการทา น้ำส้มคั้น
การวัดและการประเมินผล
1 สังเกตการสนทนา และการตอบคำถาม
2 แบบวัดทักษะทางคณิตศาสตร์ ระหว่างปฏิบัติกิจกรรมการประกอบอาหาร
2. เกณฑ์การวัดผล
1 หมายถึง เด็กสามารถตอบคา ถามได้
0 หมายถึง เด็กไม่สามารถตอบคา ถามได้