วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559

การเรียนรู้ครั้งที่ 12 วันที่ 30 มีนาคม เวลา 8.30 - 12.30 น.



บรรยากาศในห้องเรียน


วันนี้มีการเรียนแบบจัดกลุ่มเรียน และให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผนการสอนของแต่ละวันที่กลุ่มตนเองได้ มีการนำเสนอแลกเปลี่ยนความรู้ด้วยกันทั้งอาจารย์และนักศึกษา  และได้ปรึกษากับงานของแต่ละกลุ่มร่วมกัน มีการอธิบายและแนะนำ แสดงความคิดเห็นของแต่ละกลุ่ม ว่ามีแผนการจัดประสบการณ์เป็นอย่างไร มีการถาม - ตอบ ร่วมกัน ช่วยกันคิดวิเคราะห์กับเรื่องที่กลุ่มนั้นทำ ว่าสอดคล้องและมีวิธีการจัดกิจกรรมเป็นแบบใดให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย และสามารถบูรณาการกับคณิตศาสตร์ได้  มีการรับฟังความคิดเห็นของแต่ละกลุ่มและนำมาปรับใช้ในการกิจกรรมได้



เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ


เรื่องที่เรียน

- แผนการจัดประสบการณ์ของวิจัย
- การนำเสนอการจัดกิจกรรมของแต่ละกลุ่ม
- วิธีการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมและเป็นขั้นตอนที่ถูกต้อง

ความรู้ที่ได้รับ


การนำเสนองานของวันที่ 1 เรื่องประเภทของยานพาหนะ




กลุ่มของดิฉันค่ะ ^^


แผนการจัดประสบการณ์ของกิจกรรมที่แก้ไขจากการนำเสนอ

ขั้นนำ


- สอนเด็กร้องเพลงยานพาหนะ  

เพลงยานพาหนะ

ยานพาหนะ  ยานพาหนะ
มีมากมาย   มีมากมาย
รถเครื่องบินและเรือใบ รถเครื่องบินและเรือใบ
ดูน่าชม ดูน่าชม

- ใช้เพลงทดสอบความจำของเด็ก และสังเกตว่าเด็กตั้งใจฟังเพลงหรือไม่  เช่น เพลงที่เด็กๆร้องมียานพาหนะอะไรบ้าง
- ใช้คำถาม ถามประสบการณ์เดิมของเด็ก เช่น เด็กๆ มาโรงเรียนโดยใช้ยานพาหนะอะไรบ้าง

ขั้นสอน

- มีกล่องโรงรถใส่รูปยานพาหนะ และหยิบออกมาถามเด็กว่า นี่คือยานพาหนะอะไร
- ให้เด็กนับว่ามีจำนวนยานพาหนะทั้งหมดเท่าไหร่
- ให้เด็กใส่เลขฮินดูอารบิกกำกับจำนวนยานพาหนะว่าทั้งหมดเท่าไหร่
- บอกเกณฑ์จัดสถานที่ของยานพาหนะ
- จัดหมวดหมู่ยานพาหนะแต่ละประเภท และให้เด็กปฏิบัติกิจกรรมโดยนำภาพยานพาหนะไปแปะบนสถานที่ที่เหมาะสม
- ทำกราฟแผนภูมิยานพานะที่มากที่สุด และน้อยที่สุด หรือมากกว่า,น้อยกว่า นำมาเปรียบเทียบให้เด็กเห็นภาพ

ขั้นสรุป

- เด็กๆ รู้จักยานพาหนะอะไรบ้าง โดยแบ่งประเภท ทางบก , ทางน้ำและทางอากาศ

คำแนะนำเพิ่มเติม

- ควรเลือกใช้ปริศนาคำทายที่ตรงกับกิจกรรม
- ควรมีการเตรียมภาชนะใส่สื่อให้ดูตื่นเต้นและน่าสนใจ
- ไม่ควรพูดเร็วจนเกินไป พูดให้ชัดเจน ออกเสียง ร , ล ให้ชัดเจน เช่น คำว่า " ครู "



การนำเสนองานของวันที่ 1 เรื่องประเภทของเล่น , ของใช้





แผนการจัดประสบการณ์ของกิจกรรม

ขั้นนำ

- สอนเด็กร้องเพลง เก็บของ
- พูดคุยกับเด็กว่ามีอะไรอยู่ในถุงบ้างและอะไรเป็นของเล่น , อะไรเป็นของใช้

คำแนะนำเพิ่มเติมหลังจากสอนขั้นนำ

- ควรเลือกเพลงให้เหมาะสมกับเรื่องที่สอนและควรสืบค้นในการสร้างเกณฑ์ของเล่น - ของใช้ให้ถูกต้อง
- ควรมีภาชนะใส่สื่อที่ใช้เตรียมไว้สอน
- เปรียบเทียบกลุ่มที่มีมากกว่า , น้อยกว่า
- เด็กรู้จักของเล่นของใช้อะไรบ้าง และใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง





การนำเสนองานของวันที่ 2 เรื่องลักษณะของผลไม้






แผนการจัดประสบการณ์ของกิจกรรม

ขั้นนำ

- ปริศนาคำทายผลไม้
ฉันมีรูปร่างเป็นวงกลม เปลือกสีม่วง เปลือกกินได้ ฉันคืออะไร (องุ่น)
ฉันมีรูปรร่างเป็นวงรี  เปลือกสีเหลือง เนื้อสีเหลือง  (มะยมชิด)

ขั้นสอน

สังเกตและหยิบมะยมชิดและองุ่นให้มีจำนวนพอกับเด็ก และให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ถามเด็กเรื่องสี, รูปทรง , ขนาด , ส่วนประกอบ , รสชาติของผลไม้ว่าเป็นอย่างไรและให้เด็กบอกลักษณะของผลไม้โดยวิเคราะห์ตามตารางโดยมีชื่อผลไม้ , สี , รูปทรง , ขนาด , ส่วนประกอบ , รสชาติ





คำแนะนำเพิ่มเติม

- ปริศนาคำทายใช้ลักษณะผลไม้ได้บางอย่าง
- ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 
การใช้ตาดู คือ สี , รูปทรง , การชิม ให้เด็กดูส่วนประกอบและส่งให้เด็กชิมรสชาติของผลไม้ อาจมีรสไม่เหมือนกัน เช่น เปรี้ยว , หวาน , เปรี้ยมอมหวาน
- ควรถามเด็กก่อนว่ารู้จักผลไม้ชนิดนี้หรือไม่ และบันทึกตามคำพูดของเด็ก
- มีอุปกรณ์และสื่อที่เตรียมพร้อมในการจัดกิจกรรม
- ควรวางแผนการจัดกิจกรรมให้เป็นระบบก่อนทำกิจกรรม




การนำเสนองานของวันที่ 2 เรื่องลักษณะของกล้วย






แผนการประสบการณ์ของจัดกิจกรรม

ขั้นนำ

- สอนเด็กร้องเพลงลักษณะของกล้วย

ขั้นสอน

- ให้เด็กดูกล้วย 2 ชนิด คือ กล้วยหอมทอง และกล้วยไข่
- ถามเด็กว่านอกจากลักษณะของกล้วยในเพลงแล้วมีอะไรอีกบ้าง
- มีกล้วย 2 ชนิดและให้เด็กดู ถามประสบการณ์เดิมของเด็ก
- ถามเด็กว่ากล้วยหอมทองมีสีอะไร และบันทึกตามคำพูดของเด็ก
- ถามส่วนประกอบของกล้วย และบันทึกตามคำพูดของเด็ก
- ครูหั่นกล้วยให้เด็กดูส่งให้เด็กดมกลิ่น,ชิม และบันทึกตามคำพูดของเด็ก
- ครูให้เด็กดูสิ่งที่เหมือนกันของกล้วยหอมทองและกล้วยไข่ และบันทึกลงไดอะแกรมที่ทำไว้
- ครูให้เด็กดูสิ่งที่ต่างกันของกล้วยหอมทองและกล้วยไข่และบันทึกลงไดอะแกรมที่ทำไว้

ไดอะแกรมความเหมือนและความต่างของกล้วยหอมทองและกล้วยไข่

ขั้นสรุป

- ให้เด็กดูว่ากล้วยหอมทองและกล้วยไข่มีความเหมือนและความต่างกันอย่างไร
- ร้องเพลงลักษณะของกล้วย

คำแนะนำเพิ่มเติม

- ให้เด็กใช้ทักษะการสังเกตและบันทึกข้อมูลของเด็กลงตาราง
- มีการถามประสบการณ์เดิมของเด็ก
- ครูต้องปฏิบัติกิจกรรมให้เด็กดูทีละขั้นตอน
- เตรียมอุปกรณ์และสื่อให้พร้อม
- ให้เด็กดูสิ่งที่เหมือนกันของลักษณะก่อนเพราะว่าจะง่ายกว่าสิ่งที่ต่างกัน




แผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง ยานพาหนะ วันที่ 3 การดูแลรักษายานพาหนะ


ขั้นนำ

- สอนเด็กร้องเพลงการดูแลรักษายานพาหนะ


เพลง ดูแลยานพาหนะกันเถอะ

มาดูแลรักษายานพาหนะกันเถอะ(ซ้ำ)
มาเถอะ เช็คเครื่อง ล้างรถ ล้างเรือ ล้างเครื่องบิน

- ถามเด็กๆว่ามีวิธีอื่นอีกหรือไม่ที่ดูแลรักษายานพาหนะได้

ขั้นสอน

- นำยานพาหนะแต่ละประเภทมาให้เด็กดู และอธิบายขั้นตอนการล้างรถ , เรือ และเครื่องบิน โดยมีสื่อและอุปกรณ์การล้างของยานพาหนะแต่ละประเภทให้เด็กออกมาปฏิบัติกิจกรรม

ขั้นสรุป

- ครูและเด็กสรุปวิธีดูแลรักษา,ขั้นตอนการล้างยานพาหนะ


แผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง ยานพาหนะ วันที่ 4 ประโยชน์ของยานพาหนะ


ขั้นนำ

- ใช้นิทานเกี่ยวกับประโยชน์ของยานพาหนะ

ขั้นสอน

- ให้เด็กบอกประโยชน์ของยานพาหนะต่างๆ โดยครูบันทึกตามคำพูดของเด็กลงตาราง

ขั้นสรุป

ครูและเด็กสรุปว่ายานพาหนะมีประโยชน์อะไรบ้าง

ทักษะที่ได้จากการเรียน


1.ทักษะการสังเกต
2.ทักษะการบูรณาการการเรียนคณิตศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน
3.ทักษะการจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์
4.ทักษะการหาความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์กับกิจกรรมต่างๆ
5.ทักษะการคิดตอบคำถามจากปัญหาที่อาจารย์ได้ตั้งคำถาม
6.ทักษะการฟังในการเรียน
7.ทักษะในการพูดตอบคำถาม
8.ทักษะการปฏิบัติกิจกรรมให้ตรงวัตถุประสงค์
9.ทักษะการกำหนดเรื่องที่สอดคล้องกับสาระที่ควรรู้
10.ทักษะการคิดวิเคราะห์ในการทำกิจกรรม

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


- รู้จักการจัดกิจกรรมให้ถูกต้องและเตรียมอุปกรณ์และสื่อให้พร้อมในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป
- นำทักษะที่ได้จากการเรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอนของเด็กได้
- ฝึกการจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์
- รู้จักหาความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์กับกิจกรรมต่างๆ
- จัดกิจกรรมและสื่อให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
- มีการวางแผนการจัดกิจกรรมให้เป็นระบบ


ประเมินตนเอง


วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ  สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียนได้เข้าใจ  รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์  พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม  การนำเสนอของกลุ่มมีทั้งสิ่งที่ดีและผิดพลาด แต่จะนำคำแนะนำของอจารย์ไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป  ตั้งใจฟัง
เพื่อนๆที่นำเสนอและเข้าใจเนื้อหาของหัวข้อที่เพื่อนนำเสนอ ได้รู้จักการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์และสามารถนำมาสอนให้เด็กรู้จักคณิตศาตร์ได้มากขึ้น ทำให้เข้าใจเนื้อหาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้มากขึ้น

ประเมินตนเพื่อน


วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ  มีการทำกิจกรรมผิดพลาดบ้าง แต่ก็รับฟังคำแนะนำของอาจารย์ และแก้ไขให้ถูกต้อง  สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียน  รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์  พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถามมีการคิดตามเนื้อหาระหว่างที่เรียนและช่วยกันตอบคำถามค่ะ

เทคนิคการสอนและประเมินอาจารย์ผู้สอน


อาจารย์มีเทคนิคในการเรียนแบบกลุ่มและอภิปรายร่วมกันในห้องเรียน ทำให้ได้รับความรู้ที่หลากหลาย  มีการยกตัวอย่างในการสอนทำให้เข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้ง่าย  และคำแนะนำระหว่างการนำเสนอของแต่ละกลุ่มสามารถนำมาปรับใช้ได้ในการเรียนการสอนครั้งต่อๆไป  อาจารย์ได้ให้วิธีการจัดกิจกรรมที่ถูกต้อง  อธิบายเนื้อหาเรื่องที่เรียนได้ละเอียดและชัดเจน มีคำถามให้นักศึกษาได้คิดหาวิธีด้วยตนเองในการแก้ปัญหาที่ผิดพลาด คอยรับฟังคำถามหรือเรื่องที่นักศึกษาสงสัยจากเนื้อหาที่เรียนเมื่อจบการเรียนการสอนของวิชาเสมอ แนะนำการวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ได้ชัดเจนและเป็นขั้นตอนทำให้เข้าใจมากขึ้นค่ะ



สรุปวิจัย การทำขนมปังของนายอารักษ์  ศักดิกุล เลขที่ 17


เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

 การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทํากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์และเป็น แนวทางสําหรับครู ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย ในการพิจาณาเลือกกิจกรรม ที่จะช่วยส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม ซึ่งมีลําดับขั้นตอน ของการวิจัยและผลของการวิจัย โดยสรุป ดังนี้


ความมุ่งหมายของการวิจัย 

        เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ได้แก่ การสังเกต เปรียบเทียบ จำแนก จัดหมวดหมู่


แผนการสอน
ชื่อกิจกรรม  ขนมปงแผนแตงหนา  

จุดประสงค

       1. เพื่อใหนักเรียนไดพัฒนาการใชกลามเนื้อเล็กและการประสานสัมพันธระหวางมือกับตา  
       2. เพื่อใหนักเรียนไดฝกการรับรูประสาทสัมผัส  
       3. เพื่อใหนักเรียนไดรูจักสีแดง  สีขาว  สีเขียว  สีชมพู  
       4. เพื่อใหนักเรียนไดฝกทักษะการสังเกตและการจําแนก  เปรียบเทียบ  จัดหมวดหมู  
       5. เพื่อใหนักเรียนไดสงเสริมการแสดงออก  
       6. เพื่อใหนักเรียนเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน

เนื้อหา    ขนมปงแผนแตงหนา

     กิจกรรมการเรียนรู  

ขั้นนํา  (กระตุ้นเด็ก)

      1. นักเรียนและครูสนทนารวมกันคิดหาคําตอบจากปริศนาคําทาย อะไรเอย เปนแผน  
          สีขาว  นิยมทานคูกับแยม    
      2. นักเรียนและครูสนทนารวมกัน  ดังนี้     
          2.1 ขนมปงมีลักษณะอยางไร  มีสีอะไร     
          2.2 ขนมปงมีสีอะไร  รสชาติเปนอยางไร  มีใครเคยทานบาง     
          2.3 นักเรียนคิดวาขนมปงทํามาจากอะไร     
          2.4 นักเรียนคิดวาขนมปงมีประโยชนไหม  และมีประโยชนอยางไร  

ขั้นสอน   

      1. เด็กเลือกหยิบอุปกรณตามความสนใจของตนเอง  
      2. เด็กทํากิจกรรมตามความสนใจ โดยการนําขนมปงแผนรูปทรงตางๆ แยมผลไม  
          เกล็ด  ช็อกโกแลต มาโรยหนา ทา วาด เขียน เพื่อสรางชิ้นงานตามความคิด
          และจินตนาการของตนเอง   
      3. เมื่อทํากิจกรรมเสร็จแลวใหนําชิ้นงานวางบนถาดรองไปจัดรวมกันไวที่หนาชั้นเรียน   
      4. เด็กชวยกันเก็บของ  ทําความสะอาดใหเรียบรอย


ขั้นสรุป   

      1. นักเรียนนําเสนอผลงานของตนเองและสนทนารวมกับครู  ดังนี้    
          1.1 นักเรียนใชขนมปงรูปทรงใดบางมาทํากิจกรรม    
          1.2 ในชิ้นงานของนักเรียนมีอะไรที่เหมือนกัน  และอะไรที่ตางกัน  ตางกันอยางไร    
          1.3 ขนมปงของนักเรียนมีอะไรซอนอยูขางใน    
          1.4 นักเรียนคิดวาระหวางแยมผลไม กับเกล็ดช็อกโกแลต และขนมปง ตางกันหรือเหมือนกันอยางไรบาง  

สื่อการเรียน  

       1. ขนมปงแผนรูป  
       2. แยมผลไมบรรจุในถุง 3สี  คือ  แยมสม  แยมสตอเบอรี่  แยมบลูเบอรรี่  แยมสัปปะรด 
       3. เกล็ดช็อกโกแลต  
       4. ถาดรองสําหรับวางชิ้นงาน  
       5. ผาพลาสติกปูโตะ  
       6. ถาดสําหรับใสขนม  

การประเมินผล  

       1. สังเกตการทํากิจกรรมและการสนทนา  
       2. สังเกตพฤติกรรมขณะเด็กทํากิจกรรม   

คำแนะนำเพิ่มเติม

ขั้นนำ

- ให้เด็กช่วยกันระดมแสดงความคิดเห็น
- แนะนำอุปกรณ์เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจในกิจกรรมและมีการใช้เทคนิคต่างๆ เช่น นิทาน , คำคล้องจอง ,ปริศนาคำทาย ควรพิจารณาและเลือกให้เหมาะสมกับกิจกรรมนั้น

ขั้นสอน

- การปฏิบัติลงมือกระทำโดยผ่านสัมผัสทั้ง 5 ของเด็ก และสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ครูต้องอำนวยความสะดวกต่างๆ และให้เด็กปฏิบัติกิจกรรม
- ใช้คำถามระหว่างเด็กปฏิบัติกิจกรรมเพื่อเป็นการกระตุ้นเด็กให้ตั้งใจและสนใจ

ขั้นสรุป

- ให้เด็กออกมานำเสนอผลงานของตนเอง 
- เด็กและครูสรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรม


*การเป็นครูนั้นต้องมีความรู้และรู้จักการใช้ศิลปะประกอบการจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก




- -